"ทริปเปิลที"เปิด"เกตเวย์"หวังขึ้นฮับ"อินโดจีน"
ประชาขาติธุรกิจ(8-10 ตุลาคม 2550)
"ทริปเปิลที โกลบอล เน็ท" ประกาศความพร้อมให้บริการเกตเวย์แล้ว ชูจุดขายสร้างความต่างด้วยการต่อตรงเข้าโครงข่ายกูเกิล เพิ่มความ เร็วในการใช้งานของลูกค้าปลายทาง เผยปีหน้าเตรียมขยายโครงข่ายเชื่อมต่อกับประเทศเวียดนาม กัมพูชา ลาว และพม่า หวังเป็น hub เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในอินโดจีนด้วยนายสุวัฒน์ ปุณณชัยยะ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ทริปเปิลที โกลบอล เน็ท จำกัด หรือ TTGN ผู้รับใบอนุญาตให้บริการเกตเวย์ในกลุ่มทีทีแอนด์ที เปิดเผยว่า ขณะนี้ TTGN พร้อมที่จะให้บริการ เกตเวย์อินเทอร์เน็ตแล้ว โดยได้เชื่อมต่อโครงข่ายเข้าสู่แบ็กโบนหลักๆ ใน 3 ทวีป ประกอบด้วยฮ่องกง สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส โดยมีแบนด์วิดท์ในเบื้องต้นอยู่ที่ 1.3 Gbps ซึ่งปัจจุบันมีบริษัท ทีทีแอนด์ที ซับสไครเบอร์ เซอร์วิสเซส จำกัด ซึ่งเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ในบริการของ TTGN อยู่ รวมทั้งอยู่ระหว่างเจรจากับไอเอสพีอีก 2 รายที่สนใจใช้บริการบริษัทยังได้สร้างความแตกต่างด้วยการจัดทำวงจรต่อตรงผ่านเราเตอร์ของ TTGN เข้ากับโครงข่ายของกูเกิลซึ่งจะทำให้ลูกค้าที่ใช้เกตเวย์ของบริษัทสามารถใช้แอปพลิเคชั่นต่างๆ เช่น gmail, search engine, google earth, youtube ฯลฯ ของกูเกิลได้เร็วขึ้น เนื่องจากทราฟฟิกไม่ต้องวิ่งอ้อมผ่านโครงข่ายอื่นอีกต่อไป นอกจากนี้บริษัท ยังมีข้อตกลงในการจัดทำวงจรต่อตรงเข้ากับผู้ให้บริการคอนเทนต์อื่นๆ ประกอบด้วย Time Warner, Limelight และ Cogent Network ซึ่งครอบคลุมบริการและคอนเทนต์ต่างๆ ได้มากที่สุด และในอนาคตยังมีแผนที่จะต่อตรงกับ Yahoo และ Microsoft ในอนาคตด้วย"ทุกวันนี้ กทช. (คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) อนุญาตให้ต่อตรงกับผู้ให้บริการต่างประเทศได้ ทำให้ธุรกิจเกตเวย์มีพัฒนาการไปอีกขั้น มีความแปลกใหม่ ต่างจากเดิมที่แค่เชื่อมต่อไปยังปลายทางเพียงอย่างเดียว"ทั้งนี้บริษัทยังมีแผนในปี 2551 ในการลงทุนสร้างโครงข่ายเพื่อต่อเชื่อมไปยังผู้ให้บริการในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม กัมพูชา ลาว และพม่า เพื่อให้เกตเวย์ของบริษัทเป็น hub ในการเชื่อมต่อออกต่างประเทศแก่กลุ่มประเทศ ดังกล่าว โดยปัจจุบันได้บรรลุข้อตกลงกับผู้ให้บริการในกัมพูชาแล้ว และกำลังอยู่ระหว่างการเจรจากับผู้ให้บริการในพม่าและลาว ทั้งนี้คาดว่าบริษัทจะต้องลงทุนในส่วนนี้เพิ่มอีก 50 ล้านบาท"จะเป็นเส้นทางหนึ่งในการดึงลูกค้าจากต่างประเทศเข้ามา และทำให้เราเป็น hub ในภูมิภาคนี้ อย่างกัมพูชาเองมี ISP กว่า 20 ราย นอกจากนี้ ยังมีโทรศัพท์ 3G อีกด้วย ซึ่งความต้องการ ใช้งานแบนด์วิดท์ก็มีมาก การเชื่อมเกตเวย์ผ่านไทยก็ทำได้ง่าย คิดว่าโครงข่ายที่วางแผนไว้น่าจะเสร็จในปีหน้า"บริษัทตั้งเป้าหมายว่ารายได้จากการให้บริการในปีนี้น่าจะอยู่ที่ 200 ล้านบาท และในปีหน้าเพิ่มเป็น 400 ล้านบาท โดยมีผลกำไรอยู่ที่ 20% นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะเปิดให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ (IDD) ในปีหน้าด้วย โดยจะเน้นให้บริการกลุ่มลูกค้าพรีเมี่ยมและลูกค้าองค์กรเป็นหลัก แต่รายได้จากบริการดังกล่าวไม่น่าจะสูงมากเพราะยังเป็นรายใหม่ในตลาด ต้องใช้เวลาในการสร้างความมั่นใจในการให้บริการแก่ลูกค้าสักระยะหนึ่ง รายได้ 70-80% ก็น่าจะมาจากเกตเวย์ อินเทอร์เน็ตมากกว่า โดยขณะนี้บริษัทได้ยื่นขอใบอนุญาต IDD ไปยัง กทช.แล้ว คาดว่าจะได้ ใบอนุญาตในไตรมาส 4 ของปีนี้โดยใช้เงินลงทุนอีก 100 ล้านบาท สำหรับติดตั้งอุปกรณ์"ตลาดอินเทอร์เน็ตในไทยตอนนี้มีความเร็วมาตรฐานที่ 1 mbps แล้ว และความต้องการใช้งานแบนด์วิดท์ก็มากขึ้น ตัวเกตเวย์เองก็ต้องพยายามหาแบนด์วิดท์มากขึ้น ในส่วนของทริปเปิลที คาดว่าปี 2551 ลูกค้าอินเทอร์เน็ตในต่างจังหวัดจะขยายตัวจาก 200,000 ราย เป็น 500,000 ราย ดังนั้นคงต้องเพิ่มแบนด์วิดท์อีก 2 Gbps ซึ่งยังไม่รวมความต้องการใช้งานจากประเทศในอินโดจีน"
ประชาขาติธุรกิจ(8-10 ตุลาคม 2550)
"ทริปเปิลที โกลบอล เน็ท" ประกาศความพร้อมให้บริการเกตเวย์แล้ว ชูจุดขายสร้างความต่างด้วยการต่อตรงเข้าโครงข่ายกูเกิล เพิ่มความ เร็วในการใช้งานของลูกค้าปลายทาง เผยปีหน้าเตรียมขยายโครงข่ายเชื่อมต่อกับประเทศเวียดนาม กัมพูชา ลาว และพม่า หวังเป็น hub เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในอินโดจีนด้วยนายสุวัฒน์ ปุณณชัยยะ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ทริปเปิลที โกลบอล เน็ท จำกัด หรือ TTGN ผู้รับใบอนุญาตให้บริการเกตเวย์ในกลุ่มทีทีแอนด์ที เปิดเผยว่า ขณะนี้ TTGN พร้อมที่จะให้บริการ เกตเวย์อินเทอร์เน็ตแล้ว โดยได้เชื่อมต่อโครงข่ายเข้าสู่แบ็กโบนหลักๆ ใน 3 ทวีป ประกอบด้วยฮ่องกง สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส โดยมีแบนด์วิดท์ในเบื้องต้นอยู่ที่ 1.3 Gbps ซึ่งปัจจุบันมีบริษัท ทีทีแอนด์ที ซับสไครเบอร์ เซอร์วิสเซส จำกัด ซึ่งเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ในบริการของ TTGN อยู่ รวมทั้งอยู่ระหว่างเจรจากับไอเอสพีอีก 2 รายที่สนใจใช้บริการบริษัทยังได้สร้างความแตกต่างด้วยการจัดทำวงจรต่อตรงผ่านเราเตอร์ของ TTGN เข้ากับโครงข่ายของกูเกิลซึ่งจะทำให้ลูกค้าที่ใช้เกตเวย์ของบริษัทสามารถใช้แอปพลิเคชั่นต่างๆ เช่น gmail, search engine, google earth, youtube ฯลฯ ของกูเกิลได้เร็วขึ้น เนื่องจากทราฟฟิกไม่ต้องวิ่งอ้อมผ่านโครงข่ายอื่นอีกต่อไป นอกจากนี้บริษัท ยังมีข้อตกลงในการจัดทำวงจรต่อตรงเข้ากับผู้ให้บริการคอนเทนต์อื่นๆ ประกอบด้วย Time Warner, Limelight และ Cogent Network ซึ่งครอบคลุมบริการและคอนเทนต์ต่างๆ ได้มากที่สุด และในอนาคตยังมีแผนที่จะต่อตรงกับ Yahoo และ Microsoft ในอนาคตด้วย"ทุกวันนี้ กทช. (คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) อนุญาตให้ต่อตรงกับผู้ให้บริการต่างประเทศได้ ทำให้ธุรกิจเกตเวย์มีพัฒนาการไปอีกขั้น มีความแปลกใหม่ ต่างจากเดิมที่แค่เชื่อมต่อไปยังปลายทางเพียงอย่างเดียว"ทั้งนี้บริษัทยังมีแผนในปี 2551 ในการลงทุนสร้างโครงข่ายเพื่อต่อเชื่อมไปยังผู้ให้บริการในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม กัมพูชา ลาว และพม่า เพื่อให้เกตเวย์ของบริษัทเป็น hub ในการเชื่อมต่อออกต่างประเทศแก่กลุ่มประเทศ ดังกล่าว โดยปัจจุบันได้บรรลุข้อตกลงกับผู้ให้บริการในกัมพูชาแล้ว และกำลังอยู่ระหว่างการเจรจากับผู้ให้บริการในพม่าและลาว ทั้งนี้คาดว่าบริษัทจะต้องลงทุนในส่วนนี้เพิ่มอีก 50 ล้านบาท"จะเป็นเส้นทางหนึ่งในการดึงลูกค้าจากต่างประเทศเข้ามา และทำให้เราเป็น hub ในภูมิภาคนี้ อย่างกัมพูชาเองมี ISP กว่า 20 ราย นอกจากนี้ ยังมีโทรศัพท์ 3G อีกด้วย ซึ่งความต้องการ ใช้งานแบนด์วิดท์ก็มีมาก การเชื่อมเกตเวย์ผ่านไทยก็ทำได้ง่าย คิดว่าโครงข่ายที่วางแผนไว้น่าจะเสร็จในปีหน้า"บริษัทตั้งเป้าหมายว่ารายได้จากการให้บริการในปีนี้น่าจะอยู่ที่ 200 ล้านบาท และในปีหน้าเพิ่มเป็น 400 ล้านบาท โดยมีผลกำไรอยู่ที่ 20% นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะเปิดให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ (IDD) ในปีหน้าด้วย โดยจะเน้นให้บริการกลุ่มลูกค้าพรีเมี่ยมและลูกค้าองค์กรเป็นหลัก แต่รายได้จากบริการดังกล่าวไม่น่าจะสูงมากเพราะยังเป็นรายใหม่ในตลาด ต้องใช้เวลาในการสร้างความมั่นใจในการให้บริการแก่ลูกค้าสักระยะหนึ่ง รายได้ 70-80% ก็น่าจะมาจากเกตเวย์ อินเทอร์เน็ตมากกว่า โดยขณะนี้บริษัทได้ยื่นขอใบอนุญาต IDD ไปยัง กทช.แล้ว คาดว่าจะได้ ใบอนุญาตในไตรมาส 4 ของปีนี้โดยใช้เงินลงทุนอีก 100 ล้านบาท สำหรับติดตั้งอุปกรณ์"ตลาดอินเทอร์เน็ตในไทยตอนนี้มีความเร็วมาตรฐานที่ 1 mbps แล้ว และความต้องการใช้งานแบนด์วิดท์ก็มากขึ้น ตัวเกตเวย์เองก็ต้องพยายามหาแบนด์วิดท์มากขึ้น ในส่วนของทริปเปิลที คาดว่าปี 2551 ลูกค้าอินเทอร์เน็ตในต่างจังหวัดจะขยายตัวจาก 200,000 ราย เป็น 500,000 ราย ดังนั้นคงต้องเพิ่มแบนด์วิดท์อีก 2 Gbps ซึ่งยังไม่รวมความต้องการใช้งานจากประเทศในอินโดจีน"
No comments:
Post a Comment