Saturday, October 06, 2007

หนึ่งในคู่หูมหากาฬแห่งกูเกิล แลร์รี่ เพจ ติดอันดับเศรษฐีอายุน้อยสุดในสหรัฐฯ

หนึ่งในคู่หูมหากาฬแห่งกูเกิล แลร์รี่ เพจ ติดอันดับเศรษฐีอายุน้อยสุดในสหรัฐฯ
Telecom Journal (6 October 2007)


ลอว์เรนซ์ อี. เพจ [Lawrence E. Page] หรือในนามที่รู้จักกันดี แลร์รี เพจ [Larry Page] เขาเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Google internet search engine ร่วมกับ เซอร์กี บริน [Sergey Brin] และปัจจุบันได้ดำรงตำแหน่งประธานบริษัทกูเกิล เพจและบรินได้ดำรงตำแหน่งประธานบริษัทกูเกิล จนกระทั่งปี ค.ศ. 2001 พวกเขาได้จ้าง เอริก ชมิดต์ [Eric Schmidt] ให้เป็นประธานกรรมการ [Chairman] และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร [CEO] ของบริษัท พวกเขาได้ดำเนินธุรกิจบริษัทกูเกิลเคียงบ่าเคียงไหล่จนถึงปัจจุบัน ล่าสุด ในการจัดอันดับคนอเมริกันที่รวยที่สุด 400 อันดับของนิตยสารฟอร์บส์ปีนี้พบว่า 10 อันดับแรกมีผู้บริหารที่อยู่ในธุรกิจไอทีถึง 5 รายนอกจากบิลล์ เกตส์ ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการของไมโครซอฟท์ที่รั้งอันดับ 1 มาเป็นปีที่ 14 ด้วยสินทรัพย์ 59,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ฯแล้ว ยังมีแลร์รี เอลลิสันจากออราเคิลอยุ่ในอันดับ 4 [26,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ] และไมเคิล เดลล์ จากเดลล์ในอันดับ 8 [17,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ] ขณะที่เซอร์กี บริน และแลร์รี เพจติดอยู่ใน10 อันดับแรกเป็นปีแรกเข้ามาอยู่ในลำดับ 5 ร่วมกันด้วยสินทรัพย์ 18,500 ล้านดอลล่าร์สหรัฐและเป็นเศรษฐีอเมริกันที่อายุน้อยที่สุดในการจัดอันดับครั้งนี้ด้วยวัย 34 ปี เขาและบรินถูกขนานนามว่า “คู่หูมหากาฬแห่งกูเกิลแลร์รี่ เพจ เกิดเมื่อวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 1973 ณ เมืองแอนอาร์เบอร์ มลรัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา เพจเป็นชาวยิว-อเมริกัน เขาเป็นบุตรของ คาร์ล วินเซนต์ เพจ [Carl Vincent Page], ศาสตราจารย์สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ณ มหาวิทยาลับมิชิแกนสเตต และนางกลอเรีย เพจ [Gloria Page]เขาจบการศึกษาชั้นมัธยมจากมัธยมศึกษาแลนซิงตะวันออก [East Lansing High School] จบการศึกษาปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จาก มหาวิทยาลัยมิชิแกน- แอนอาเบอร์ หลังจากนั้นได้เข้าศึกษาต่อปริญญาโท ณ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดขณะศึกษาปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เพจได้ความคิดจากเพื่อนของเขา แอเลกซ์ ซองคิน [Alex Sonkin] และภายหลังได้พบกับ เซอร์กี บริน ทั้งสองคนได้พัฒนา Google Search Engine ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998จากการสำรวจของนิตยสารฟอร์บส์เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2006 ระบุว่าเพจมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิสูงถึง 14,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 5 แสนล้านบาท ซึ่งทำให้เขากลายเป็นบุคคลที่รวยที่สุดในโลกอันดับที่ 27 เป็นตำแหน่งที่ต่ำกว่า บริน ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทกับเขาเพียงแค่ตำแหน่งเดียว เมื่อไม่นานมานี้เพจและบรินยังได้ร่วมกันซื้อเครื่องบิน โบอิ้ง 767 เพื่อใช้ในงานในธุรกิจและงานส่วนตัวอีกด้วย

SATTEL ดัน iPSTAR ลุยฟิลิปปินส์


SATTEL ดัน iPSTAR ลุยฟิลิปปินส์
Telecom Journal (6 October 2007) 14:20:39

ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ไซรัส ออกบทวิเคราะห์ แนะนำซื้อหุ้น บริษัท ชิน แซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) หรือ SATTEL โดยแนะนำ“ซื้อ” ประเมินมูลค่าพื้นฐานที่ 17.00 บาท โดยระบุว่า SATTEL ได้เซ็นสัญญากับบริษัท TNRI Telecoms Inc. (เป็นบริษัทให้บริการสื่อสารไร้สายผ่าน VSAT และโครงข่ายภาคพื้นดิน) ในฟิลิปปินส์เพื่อเป็นลูกค้าของ IPSTAR เพื่อให้บริการ Broadband ในชนบท โดย TNRI ได้ตกลงว่าจะใช้ Bandwidth กว่า 100 เมกกะบิตต่อวินาที (Mbps) และจะสั่งซื้ออุปกรณ์ปลายทาง (User Terminal) ด้วยแม้ว่าการใช้ Bandwidth 100 Mbps จะคิดเป็นเพียง 0.25% ของ Capacity ทั้งหมดของ IPSTAR (Capacity ที่จัดสรรให้ฟิลิปปินส์ทั้งหมดคิดเป็น 2.8% ของ IPSTAR) แต่ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่ได้เข้าไปรุกตลาดฟิลิปปินส์ซึ่งมีภูมิประเทศเป็นเกาะเหมาะกับการใช้งาน IPSTAR อย่างไรก็ตาม เราคาดว่า SATTEL ต้องใช้เวลาในการสร้าง Gateway ประมาณ 3 เดือน จึงจะเริ่มเปิดให้บริการและรับรู้รายได้ประมาณต้นปี 2551 ปัจจุบัน IPSTAR เปิดให้บริการแล้วใน 8 ประเทศ ได้แก่ไทย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เวียดนาม พม่า ลาว จีน และกัมพูชา ส่วนในมาเลเซีย กำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการ การขยายตลาดไปในประเทศต่างๆ เป็นไปตามแผนงานของบริษัทอยู่แล้ว ส่วนฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เอเซียพลัส วิเคราะห์ SATTEL แนะนำ ซื้อ Fair value 15.01 บาท บริษัทเปิดเผยว่าได้จับมือเป็นพันธมิตรกับ TNRI Telecom Incorporation เพื่อดูแลส่วนปฏิบัติการสถานีภาคพื้นดิน (Gateway) สำหรับประเทศฟิลิปปินส์พร้อมทั้งให้บริการ iPSTAR โดยพันธมิตรรายดังกล่าวได้ตกลงที่จะใช้ช่องสัญญาณของดาวเทียม iPSTAR จำนวนกว่า 100 Mbps กับ SATTEL แล้วด้านฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.สินเอเซีย ประเมิน SATTEL ว่า ประเด็นข้อกล่าวหาจากฝ่ายลาวในการขายหุ้น SHEN ออกไป 49% ไม่น่าจะขัดต่อสัญญาสัมปทานของกิจการร่วมค้า LTC เนื่องจากไม่ได้เป็นการขาย LTC ออกไปโดยตรง แต่เป็นการขาย SHEN ออกไป 49% โดย SHEN ยังคงถือหุ้น LTC 49% เหมือนเดิมส่วนความคืบหน้าของ iPSTAR นั้น ล่าสุดได้มีการลงนามกับ บริษัท ไทม์ ดอทคอม เบอร์ฮาร์ด (TIME) ผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่ในมาเลเซีย เพื่อให้บริการดาวเทียมบอร์ดแบนด์ iPSTAR ซึ่งถึงแม้ตลาดจะเล็กเพียง 6.6% ของ Capacity iPSTAR แต่ก็ทำให้เห็นถึงความคืบหน้าในการเจาะตลาดเฟส 2 หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้มีการเจาะตลาดเกาหลี และญี่ปุ่นไปแล้ว ซึ่งจะช่วยกระตุ้นยอดขาย UT และ Utilization rate ของ iPSTAR โดยคาดว่าจะรับรู้รายได้เข้ามาอย่างมีนัยสำคัญในปี 51 ในขณะที่ตลาดที่เป็นความหวังหลักของ iPSTAR อย่างจีนและอินเดียยังคงล่าช้าต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสาเหตุให้ปรับประมาณการปี 50 ลง ทำให้ราคาเป้าหมายตามวิธี DCF ลดลงเหลือ 13.20 บาท จาก 13.50 บาท แต่ยังคงแนะนำ “ซื้อ” เพื่อลงทุนระยะยาว จากฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งขึ้นเมื่อขาย SHEN ออกไป 49% และยังมีมุมมองที่ดีต่อการเติบโตในระยะยาว โดยเฉพาะตลาดอินเดียซึ่งมีความต้องการรออยู่แล้วทั้งจากภาครัฐและเอกชน ในขณะที่การเข้าเจาะตลาดอื่นก็ยังมีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่องส่วนสาระสำคัญ คือ ประเด็นข้อกล่าวหาในการขายหุ้น SHEN ออกไป 49% ไม่น่าจะขัดต่อสัญญาสัมปทานของกิจการร่วมค้า LTC: โดยทาง SATTEL ได้ยืนยันถึงการแจ้งการขายหุ้น SHEN ออกไป 49% ให้รัฐบาลลาว รวมถึง ตลท. และผู้ที่เกี่ยวข้องทราบแล้วทั้งนี้ ตามสัญญาที่ SATTEL ตกลงกับรัฐบาลลาว ได้กำหนดว่าหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะขายหุ้น LTC ต้องแจ้งให้อีกฝ่ายทราบล่วงหน้าก่อนเพื่อใช้สิทธิในการเป็นผู้เสนอซื้อรายแรก หากไม่มีการเสนอซื้อภายใน 60 วันจึงให้บุคคลที่ 3 ซื้อได้ ซึ่งเมื่อดูตามโครงสร้างการถือหุ้น การขายหุ้นดังกล่าวเป็นการขายหุ้น SHEN ออกไป 49% ไม่ได้เป็นการขาย LTC ออกไปโดยตรง โดย SHEN ยังคงถือ LTC 49% ตามเดิม ในขณะที่ SATTEL ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 51% ใน SHEN เราจึงเห็นว่าไม่น่าจะขัดต่อสัญญาสัมปทาน โดยกระบวนการขายหุ้น SHEN ดังกล่าวได้ผ่านมาแล้วประมาณ 2 เดือนตั้งแต่ต้นเดือน มิ.ย. 50 ด้านความคืบหน้าของโครงการ iPSTAR คือ ได้พันธมิตรในมาเลเซียเพื่อให้บริการ iPSTAR โดย SATTEL ได้เข้าลงนามกับ บริษัท ไทม์ ดอทคอม เบอร์ฮาร์ด (TIME) ผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่ในมาเลเซีย เพื่อให้บริการดาวเทียมบอร์ดแบนด์ iPSTAR ซึ่ง TIME เป็นผู้ให้บริการทั้งด้านเสียงและข้อมูล รวมถึงอินเทอร์เน็ตบอร์ดแบนด์ และอินเทอร์เน็ตผ่านสายโทรศัพท์ โดยเป็นผู้ให้บริการบอร์ดแบนด์ไร้สาย (Wireless Broadband Access service) รายแรกในมาเลเซีย โดย SATTEL จะเข้าไปติดตั้ง Gateway ในพื้นที่ของ TIME ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ในช่วง 4Q50 จากการได้ TIME มาเป็นพันธมิตรเพื่อให้บริการบอร์ดแบนด์ iPSTAR ในมาเลเซีย คาดว่าจะทำให้สามารถเจาะตลาดรายย่อยได้ง่ายขึ้น เนื่องจากเป็นบริษัทโทรคมนาคมชั้นนำในประเทศทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการรายย่อยได้เป็นอย่างดี ในขณะเดียวกันด้วยความที่เป็นองค์กรกึ่งรัฐวิสาหกิจของ TIME ก็ทำให้มีโอกาสได้งานในโครงการขนาดใหญ่จากหน่วยงานภาครัฐด้วย โดยรัฐบาลมาเลเซียต้องการให้มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในพื้นที่ห่างไกล เพื่อให้มีการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างทั่วถึง ซึ่งได้มีการกำหนดไว้ในแผนงบประมาณประจำปี 2008 ความหวังของ iPSTAR ที่แท้จริงคือจีนและอินเดีย: เนื่องจาก iPSTAR มีการจัดสรร Capacity ให้กับทั้ง 2 ตลาดประมาณ 44% ของ Capacity รวม โดยแบ่งเป็นจีน 26.2% และ อินเดีย 17.5% ซึ่งจากจุดคุ้มทุนของ iPSTAR ที่ระดับ Utilization rate 15% ของ Capacity รวม จึงทำให้เห็นว่าหากตลาดใดตลาดหนึ่งประสบความสำเร็จ ก็จะทำให้โครงการ iPSTAR ถึงจุดคุ้มทุนเร็วขึ้น แต่ขณะนี้ตลาดใหญ่ทั้ง 2 ยังมีความล่าช้า โดยในจีนยังติดปัญหาในแง่ของการทำตลาด ซึ่งพันธมิตรที่เป็นผู้ให้บริการดาวเทียม (CHINA SAT) ไม่มีความชำนาญในการทำตลาดรายย่อย จึงจำเป็นต้องหาพันธมิตรที่เป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมมาช่วยเสริมในการทำตลาด ในขณะที่อินเดียยังไม่สามารถนำ Gateway เข้าไปติดตั้งได้ ทั้งที่มี Landing license แล้ว เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงรัฐมนตรีที่เข้ามาดูแลทางด้าน ICT ในขณะเดียวกันก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าจำเป็นต้องมี Space license หรือไม่ ซึ่งจากความล่าช้าของตลาดทั้ง 2 ทำให้รายได้ของ iPSTAR ยังไม่โดดเด่น และยังไม่ถึงจุดคุ้มทุน อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยเสี่ยงในแง่ของผลการตีความของกฤษฎีกาว่าสัญญาสัมปทานดาวเทียมทั้งสัญญาหลักและสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมของ SATTEL ว่าผิดกฎหมายหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่คาดเดาได้ยาก ประเด็นดังกล่าวจึงยังกดดันราคาหุ้นอยู่ต่อไปจนกว่าจะมีความชัดเจน

หุ้น SAMART มี Upside สูงถึง 50.3%


หุ้น SAMART มี Upside สูงถึง 50.3%
Telecom Journal (6 October 2007)
14:19:53

บอร์ด SAMART อนุมัติตั้งบริษัทใหม่ในฮ่องกง ด้วยทุนจดทะเบียน 20 ล้านเหรียญ เป้าหมายเพื่อลงทุนสาธารณูปโภคในอินโดจีน พร้อมเตรียมโอนเงินลงทุนในกัมพูชาทั้งหมดเข้าในบริษัทใหม่ ศิริชัย รัศมีจันทร์ รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (SAMART) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 5/2550 เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2550 ว่า ได้มีมติอนุมัติให้ปรับโครงสร้างการลงทุนในต่างประเทศของบริษัทฯ โดย1.เพื่อปรับโครงสร้างการลงทุนในต่างประเทศของบริษัทฯ ให้ชัดเจน ที่ประชุมมีมติอนุมัติให้จัดตั้งบริษัทใหม่ในประเทศฮ่องกง ด้วยทุนจดทะเบียน 20 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยบริษัทฯ ถือหุ้นในบริษัทใหม่นี้ร้อยละ 100 เพื่อทำหน้าที่เป็นบริษัทโฮลดิ้ง สำหรับการลงทุนในธุรกิจสาธารณูปโภคในภูมิภาคอินโดจีน2.อนุมติให้บริษัทฯ โอนเงินลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัท แคมโบเดีย แอร์ทราฟฟิค เซอร์วิส จำกัด ( CATS ) ซึ่งประกอบธุรกิจจัดตั้งระบบและให้บริการควบคุมการจราจรทางอากาศในประเทศกัมพูชา ที่บริษัทฯ ถืออยู่ทั้งหมดใน CATS จำนวน 250,000 หุ้น ให้แก่บริษัทที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ที่ประเทศฮ่องกง (ในข้อ 1) ในมูลค่าหุ้นละ 48 เหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 100 ของหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมด เป็นมูลค่าทั้งสิ้นเท่ากับ 12 ล้านเหรียญสหรัฐ3.อนุมัติให้ CATS ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 100 โอนเงินลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัท กัมปอต เพาเวอร์แพลนท์ จำกัด (KPP) ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้กับโรงงานกัมปอตซีเมนต์ในประเทศกัมพูชา ที่ CATS ถืออยู่ทั้งหมดใน KPP จำนวน 500,000 หุ้น ให้แก่บริษัทที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ที่ประเทศฮ่องกง (ในข้อ 1) ในมูลค่าหุ้นละ 10 เหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 100 ของหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมด เป็นมูลค่าทั้งสิ้นเท่ากับ 5 ล้านเหรียญสหรัฐ4.มอบอำนาจให้คณะกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท ตามหนังสือรับรองเป็นผู้มีอำนาจ เจรจา ทำความตกลงและลงนามในเอกสารและสัญญาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งดำเนินการอื่นใดอันจำเป็นซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการจัดตั้งบริษัทใหม่ การจำหน่ายหุ้นสามัญของ CATS และ KPP ดังกล่าวฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟินันซ่า (FSL) วิเคราะห์หุ้น SAMART หลังอนุมัติปรับโครงสร้างการลงทุน โดยจัดตั้งบริษัทจดทะเบียนใน HK ทุนจดทะเบียน $US 20 m.พร้อมโอนเงินลงทุนในกัมพูชาทั้งหมดเข้าในบริษัทดังกล่าวโดยระบุว่าแนวทางดังกล่าว เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือหุ้นในบริษัทย่อยของ SAMART จากเดิมถือตรงใน CATS และถือทางอ้อมใน KPP มาเป็นถือทางอ้อมทั้ง 2 บริษัทผ่านบริษัท Holding ที่ HK จึงไม่กระทบมูลค่าหุ้นของ SAMARTปัจจุบัน….แต่การย้ายลูกไปอยู่ภายใต้บริษัท Holding ที่ HK จะส่งผลให้เสีย Tax ในกรณีมีกำไรจากการขายเงินลงทุนเพียง 17% (vs ภายใต้โครงสร้างเดิมที่อยู่ภายใต้ SAMART จะเสีย TAX 30%) เปรียบเสมือนการปูทางเพื่อขายบริษัทลูก CATS ให้แก่นักลงทุนต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีผู้สนใจเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีกระแสเงินสดแน่นอน, ผูกขาด และ EBITDA Margin สูงถึง 45-50% โดยเราคาดว่า SAMART มีแนวโน้มที่จะขายเงินลงทุนบางส่วนออกไป แต่ยังคงถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 51% ตามเงื่อนไขสัญญาสัมปทาน โดยปัจจุบัน CATS มีมูลค่าตามราคาตลาดราว $US 200 m. (หรือราว 7,000 ลบ.) vs BV ณ 2Q07 ที่ 261 ลบ. และถือเป็น Hidden Asset (คล้ายกรณีขาย SHEN ของ SATTEL) ดังนั้น ภายใต้สมมติฐานการขายหุ้น CATS 40% ให้นักลงทุนต่างประเทศ โดยDiscount จากราคาตลาด 20% SAMART จะได้เงินสดสูงถึง 2,240 ลบ. และหลังภาษีที่ 1,876 ลบ. หรือคิดเป็นเงินสดถึง 1.92 บาท/หุ้นแม้การขายลูกอาจไม่เกิดในระยะเวลาอันใกล้ แต่ราคาหุ้นปัจจุบันก็ถูกมาก มี Upside สูงถึง 50.3%แนะนำ “ซื้อ” เป้าหมาย 11.80 บาท/หุ้น และมีโบนัสจากการขายบริษัทลูกเป็นของแถมด้านฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กรุงศรีอยุธยา ประเมินว่า การปรับโครงสร้างบริษัทในครั้งนี้อาจมีส่วนเกี่ยวเนื่องถึงการขายหุ้น CATS ที่เคยเป็นข่าวก่อนหน้านี้ เนื่องจากอัตราภาษีในประเทศฮ่องกงที่ต่ำกว่าของไทย จะช่วยลดภาระภาษีจากการขายหุ้นได้ทางหนึ่งหากการขายหุ้น CATS เป็นความจริง เราคาดว่าจะส่งผลบวกต่อ SAMART ในแง่ของกำไรจากการขายหุ้น และมีเม็ดเงินเหลือพอที่จะขยายการลงทุนสู่ธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภคหรือธุรกิจ Broadcast เพื่อสร้างการเติบโตในอนาคต คงคำแนะนำ ซื้อ Fair Price 9.80 บาท (sum-of-the-parts)ส่วนฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ไซรัส วิเคราะห์ว่า การปรับโครงสร้างดังกล่าวน่าจะสอดคล้องกับข่าวที่ออกมาก่อนหน้านี้ว่า SAMART อาจจะขายเงินลงทุนบางส่วนใน CATS ให้กับนักลงทุนที่สนใจจะซื้อ โดยการตั้งบริษัทในฮ่องกงจะเป็นการใช้ประโยชน์ทางภาษีหากมีการขายหุ้น เพราะอัตราภาษีในฮ่องกงเท่ากับ 17% นอกจากนี้ หาก Holding Company จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงได้ ก็จะมีราคาตลาดให้อ้างอิงและต้อง Mark to market เป็น Hidden value ของ SAMART ได้อีกอย่างไรก็ตาม หาก Holding Company ขายหุ้น CATS 25% ในราคา US$50 จะทำให้ราคาเป้าหมายของ SAMART เพิ่มขึ้นอีก 1.20 บาท/หุ้นจากปัจจุบันที่ 8.80 บาท/หุ้น ทั้งนี้ ยังไม่รวมหุ้นอีก 75% ที่เหลืออยู่ ที่ควรจะ Mark to Market ตามราคาตลาด ซึ่งจะยิ่งทำให้มูลค่าหุ้น SAMART เพิ่มขึ้นได้อีก เราจึงยังคงแนะนำ “ซื้อ” โดยยังให้ราคาเป้าหมายเท่าเดิมจนกว่าจะมีการซื้อขายหุ้นจริงตามที่เป็นข่าว

ทีโอทีส่งบรอดแบรนด์ 1 เมกกะบิต ดึงลูกค้าต่างจังหวัด


ทีโอทีส่งบรอดแบรนด์ 1 เมกกะบิต ดึงลูกค้าต่างจังหวัด
Telecom Journal (6 October 2007) 14:12:57

ส่ง Hi-Speed Internet โหลดเร็ว เน็ต “แรงทั่วไทย” ทีโอที หวังดึงฐานลูกค้าต่างจังหวัด พร้อมจัดโปรโมชั่นใหม่เอาใจลูกค้ารายเดิมด้วยการเพิ่มความเร็วการใช้งานให้ทันที สำหรับลูกค้ารายใหม่รับ Dual port modem ฟรี ไม่มีค่าแรกเข้าหรือเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้น โดยคาดว่าจะมีลูกค้าเพิ่มขึ้น 45,000 รายอดิศร์ หะริณสุต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักการตลาด บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ทีโอที ได้ออกโปรโมชั่นใหม่ “แรงทั่วไทย” เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบรนด์) ที่ความเร็ว 1 Mbps ในอัตราค่าบริการรายเดือนเพียง 590 บาท และยังเสนอบรอดแบรนด์ความเร็วสูงสุดที่ 2 Mbps ในอัตราค่าบริการเหมาจ่ายรายเดือน 1,000 บาท ซึ่งในการออกโปรโมชั่นออกมาในครั้งนี้ก็เนื่องจากเห็นว่าแนวโน้มพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตมีความต้องการใช้ที่ความเร็วตั้งแต่ 1 Mbps ขึ้นไปโดยคาดว่าในปีหน้า จะเป็นปีของการแข่งขันในเรื่องของ Hi-Speed มากขึ้น เนื่องจากว่าอุปกรณ์การใช้งานต่างๆที่เกี่ยวข้อง เริ่มมีแนวโน้มของราคาที่ลดลง เช่น ราคาของ คอมพิวเตอร์ หรือ โน้ตบุ๊ค ที่ถูกลง ซึ่งตรงนี้จะทำให้คนสามารถนำมาใช้งานกันได้มากขึ้น“ADSL คืออนาคตของ ทีโอที ดังนั้นเราพร้อมที่จะเดินหน้าโครงการนี้ โดยเริ่มต้นจะเป็นการดึงฐานลูกค้าในต่างจังหวัดให้เข้ามาก่อน เพื่อให้มีฐานลูกค้าเพิ่มขึ้น ซึ่งเราสามารถที่จะแข่งขันกับรายอื่นๆได้ดีในส่วนที่เป็นต่างจังหวัด เพราะว่า ทีโอที มี Networt ทั่วทั้งประเทศ ดังนั้นเราเป็นผู้ให้บริการรายเดียวที่สามารถให้บริการได้ทั่วประเทศ” อดิศร์ กล่าวสำหรับลูกค้าเดิม ทีโอที ได้มอบสิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าที่ใช้บริการ TOT Hi-Speed Internet ความเร็ว 512/256 กิโลบิต และ 1 เมกกะบิต/512 กิโลบิต เพื่อรับบริการ TOT Hi-Speed Internet ที่ความเร็วสูงขึ้นในราคาเท่าเดิม โดยลูกค้าที่ใช้ความเร็ว 512/256 กิโลบิต จะได้รับความเร็ว 1.5 เมกกะบิต/512 กิโลบิต และลูกค้าที่ใช้ความเร็ว 1 เมกกะบิต/512 กิโลบิต จะได้รับความเร็ว 2 เมกกะบิต/512 กิโลบิต ทั้งนี้ ทีโอทีคาดว่าจะดำเนินการปรับเพิ่มความเร็วของการใช้งานอินเทอร์เน็ตของลูกค้าเดิมตามเงื่อนไขดังกล่าวได้ ภายใน 31 ตุลาคม นี้ อัมพร บุญสัมพันธ์ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์การตลาด บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวเพิ่มเติมว่า ในขณะนี้ ทีโอที มีลูกค้าอยู่ประมาณ 300,000 กว่าราย และหลังจากที่ออกโปรโมชั่น “แรงทั่วไทย” ออกไป จะมีลูกค้าเพิ่มขึ้นอีก 45,000 ราย ขณะนี้เราพร้อมที่จะแย่ง Market Share แล้วโดยรายได้ที่เพิ่มขึ้นคาดว่าจะมีประมาณ 300 กว่าล้านบาท ซึ่งการทำโปรโมชั่นตรงส่วนนี้จะเป็นการชดเชยรายได้จากโทรศัพท์พื้นฐานที่มีการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องโดยกลยุทธ์ที่ ทีโอที นำมาใช้เพื่อแข่งขันกับผู้ให้บริการรายอื่นๆ ที่มีการให้บริการบรอดแบรด์มาก่อนหน้านี้แล้วก็คือ กลยุทธ์ในด้านของ ราคา ที่จะมีราคาถูกกว่าผู้ให้บริการรายอื่นๆ โดยจะเห็นได้จากการใช้งาน บรอดแบรนด์ที่ความเร็วสูง จะมีสัดส่วนของราคาที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด และพื้นที่ในต่างจังหวัด ที่ตอนนี้ ทีโอที ได้มีการเพิ่มแบรนด์วิธเอาไว้รองรับได้มากขึ้น รวมไปถึงเรื่องของการบริการที่ ทีโอที มีพร้อมสำหรับลูกค้าในพื้นที่ต่างๆ ได้ อย่างทั่วถึงอีกด้วยสำหรับแผนการโฆษณาประชาสัมพันธ์ของโปรโมชั่น “แรงทั่วไทย” ตอนนี้ก็ได้เริ่มมีการทำการโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ โปสเตอร์ หน้าซองใบแจ้งหนี้ค่าโทรศัพท์บ้าน และตามหน้าเว็บในอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ผู้สนใจสามารถสมัครใช้โปรโมชั่น “แรงทั่วไทย” ได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 ธันวาคม 2550

สัญญามือถือ - AC/IC – ไลเซนต์ใหม่ – 3G – ทีโอทีและกสท ฐานะวูบ – ข้อพิพาทเก่า วิกฤติยุคสุญญากาศ รอยต่อของ”รักษาการ”


สัญญามือถือ - AC/IC – ไลเซนต์ใหม่ – 3G – ทีโอทีและกสท ฐานะวูบ – ข้อพิพาทเก่า วิกฤติยุคสุญญากาศ รอยต่อของ”รักษาการ”
Telecom Journal (6 October 2007) 13:00:00

ต้องยอมรับว่านับแต่รัฐบาลรักษาการชุดนี้เข้านั่งบริหารราชการจวนขวบปี ณ ห้วงเวลานี้ อุตสาหกรรมโทรคมนาคมนาคมมาถึง รอยต่อ ของการบริหารการตัดสินใจอย่างวิกฤติทีเดียวไล่เรียงกันมาตั้งแต่ “รัฐบาลรักษาการ” แม้ว่าจะได้แต่งตั้งรักษาการ รมว.ไอซีที มาเพิ่มอีก 2 คน แต่คงไม่มีบิ๊กเซอร์ไพรส์ เกิดขึ้นมา ท่ามกลางความขัดแย้งของส่วนต่างๆในอุตสาหกรรม จากนโยบายการกำกับเดิมที่คาราคาซังอยู่ และไม่มีใครชี้ความชัดเจนลงมาได้กทช.ก็เหลือเพียง 3 คนหลังจับสลากออก แม้จะ”รักษาการ”ต่อเหมือนเดิม รอองค์กรใหม่คือกสทช.ซึ่งก็กำหนดไม่ได้เช่นกันว่าเกิดขึ้นเมื่อใดทีโอที หน่วยงานที่ถือสัมปทานกว่า 20 สัญญา ก็มีกจญ.”รักษาการ”อีกระยะหนึ่ง เพราะประธานบอร์ดอยากเห็น “สเปก”ใหม่ ที่พันเอก นที ศุกลรัตน์ สามารถร่วมลงสมัครได้ ด้านกสท ก็มีกจญ.คนนอกอย่าง พิศาล จอโภชาอุดม ที่ไม่รู้ว่าจะผ่านประเมินผลในปีหน้าหรือไม่ ท่ามกลางรอยต่อการตัดสินใจระดับสูงนี้ ปัญหาข้อขัดแย้งเชิงกฎหมายลุกลามขึ้นทุกขณะ เรื่องเดิมก็ไม่ได้รับโอกาสให้สรุป และคงไม่มีอะไรที่แย่ลงกว่านั้นอีก เมื่อรัฐบาลหน้าอาจแค่รัฐบาล”คั่นเวลา” อย่างที่ถูกคาดการณ์หลังจากที่รอคอยกันมาเกือบสัปดาห์ ก็ไม่มีอะไรเกินความคาดหวังว่าการปรับคณะรัฐมนตรีแทนคนที่ลาออกไปนั้น จะมีเรื่องให้นั่งจับตาอย่างมีชีวิตชีวาขึ้นมาได้ ทั้งนี้การประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อสัปดาห์ก่อนหลังนายกรัฐมนตรีเดินทางหกลับมาจากสหรัฐอเมริกา ได้มอบหมายให้โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.อุตสาหกรรม และคุณหญิง ทิพาวดี เมฆสวรรค์ รมต.ประจำสำนักนายกฯ ทำหน้าที่รักษาการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีทีแท้จริงแล้วไม่ว่าใครจะไปหรือจะมาในช่วงนี้ ก็คงไม่ทำให้เรื่องต่างๆที่ค้างคาอยู่เดินหน้าต่อไปได้เหมือนอย่างที่ ดร.สิทธิชัย โภไคยอุดม รมว.ไอซีทีคนก่อน ที่บอกว่าเขาไม่ค่อยมีอะไรทำมาร่วมสองเดือนแล้ว ไม่ได้ขี้เกียจ แต่มันทำอะไรไม่ได้แล้วจริงๆ ท่ามกลางปัจจัยแวดล้อมแบบที่เป็นอยู่ที่สำคัญกว่านั้นคือปัจจัยแวดล้อมที่มีบริษัท ทีโอที จำกัดและบริษัท กสท โทรคมนาคม ผู้ถือสัญญาสัมปทานของเอกชนอยู่หลายๆบริการ โดยเฉพาะสัมปทานบริการมือถือที่กำลังอยู่ในกระบวนการแก้ไขรายละเอียดเพื่อทำให้ถูกต้องตามที่สำนักงานกฤษฎีกาชี้มูลมานั้นเต็มไปด้วยกระบวนการตัดสินใจบริหารตัดสินใจที่ช้า และไม่มีอิสระที่ชัดเจนพอศ. ดร.สิทธิชัย พูดทีเล่นทีจริงด้วยว่า หากมีคนจ้างเขา 3 ล้านบาทต่อเดือนเพื่อมาเป็นซีอีโอของทีโอที ก็คงไม่เอา เพราะไม่อยากลำบากขนาดนั้น และเชื่อว่าเข้ามาก็คงช่วยอะไรไม่ดีขึ้นอดีตรมว.ไอซีที กล่าวด้วยว่า ช่วงรักษาการนี้ยังไม่น่ามีเรื่องอะไรออกมาได้ ทั้งเรื่องแก้สัญญาสัมปทานที่น่าจะกินเวลากว่าปี เรื่องบริการ 3G ก็ไม่รู้ว่าหน่วยงานกสทช.จะเกิดขึ้นมาได้เมื่อไรและให้ได้เมื่อไร เรื่องแผนพัฒนาบริการ3G ของไทยโมบาย นั้น ก็ยังต้องกลั่นกรองแผนธุรกิจใหม่ จากที่เคยจะเชิญชวนรัฐบาลกิจการต่างชาติ มาปล่อยกู้ให้ ไทยโมบาย แบบ G2G ก็คงต้องใช้เวลามากส่วนเรื่องข้อพิพาทเรื่อง อินเตอร์คอนเนกชั่นชาร์จ(IC) และเรื่องแอ็คเซสชาร์จ (AC) ที่ยังก้ำกึ่งและหาคนกล้าตัดสินใจชี้ขาดไม่ได้นั้น เขาประเมินว่าอาจจะใช้เวลาถึง 2-3 ปีทีเดียว เพราะที่ผ่านมาทางสำนักงานคณะกรรมการกทช.ก็ส่งเรื่อง มาที่กระทรวงหลายรอบ เพื่อดูท่าทีว่าการประกาศใช้ IC ของกทช.ตั้งแต่ต้นปีที่แล้วนั้น ได้ทำให้เรื่อง AC ตามสัญญาเดิมเป็นปัญหาเกิดขึ้นแหล่งข่าว กล่าวว่า กทช.ก็ต้องการชี้ว่าการออก IC มาทำให้ AC อยู่ด้วยกันไม่ได้ แต่ที่ผ่านมากทช.ก็ไม่กล้าที่จะฟันธงลงว่าต้องเลิก AC มาเข้าสู่ IC เสีย เพราะเรื่องแบบนี้อาจมีผลในทางคดีภายหลังได้ เพราะล้วนแต่เป็นผลประโยชน์ โดยเฉพาะเสี่ยงต่อการถูกกล่าวหาทำให้รัฐเสียหาย เนื่องจากลำพังค่า AC นั้นทำรายได้ให้ ทีโอที ปีละเกือบ 20,000 ล้านบาททีเดียวกทช.สุญญากาศกว่าเดิม การจับสลากออกของคณะกรรมการกทช.เกิดขึ้นเมื่อ 28 กันยายน มี พล.อ.ชูชาติ สุขสงวน อดีตเจ้ากรมพระธรรมนูญทหาร เป็นประธานการจับสลากกรรมการ กทช. และกรรมการฯ อีก 4 คน ได้ดำเนินกระบวนการจับสลากกรรมการ กทช. เพื่อพ้นจากตำแหน่ง โดยมีสักขีพยาน เช่น จุลยุทธ หิรัณยะวสิต ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี,สุวิมล ภูมิสิงหราช เลขาธิการวุฒิสภา, พนักงาน กทช. และผู้ประกอบการ โดยผู้ที่จับสลากถูกให้ออกจากหน้าที่คือ พล.อ.ชูชาติ พรหมพระสิทธิ์ ประธาน กทช. เหรียญชัย เรียววิไลสุข กรรมการ กทช. และ ศ. เศรษฐพร คูศรีพิทักษ์ เหลือสามคนอยู่ต่อคือ สุชาติ สุชาติเวชภูมิ , ศ. ประสิทธิ์ ประพิณมงคลการ และ รศ. สุธรรม อยู่ในธรรม กรรมการ กทช.หลายคน กล่าวว่า ส่วนตัวรู้สึกเฉยๆ กับผลการจับสลากในครั้งนี้ เพราะตลอดระยะเวลาที่ทำงานมา 3 ปี ถือว่า เป็นกำไรอยู่แล้ว และยังไม่ได้ตัดสินใจว่า จะสมัครกลับมาดำรงตำแหน่งอีกครั้งหรือไม่ อีกนานมาก กฎหมายใหม่จะเป็นอย่างไรต้องดูไปก่อน ประธานคณะกรรมการกทช. ซึ่งยังคงรักษาหน้าที่ต่อไป กล่าวว่า ไม่กระทบกับการทำงานและกทช.ก็ยังคงทำหน้าที่อนุมัติใบอนุญาต การจัดสรรเลขหมายโทรคมนาคม การออกกฎเกณฑ์ต่างๆ ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ 2-3 เรื่องอย่างการใช้เบอร์เดียวกับทุกระบบหรือ Number Portability รวมทั้งการจ้างที่ปรึกษาออกกฏเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ใบอนุญาตโทรศัพท์มือถือ 3จี ซึ่งพยายามที่จะออกกฎเกณฑ์ให้ได้ภายในต้นปีหน้า ส่วนเรื่องการจัดสรรคลื่นความถี่คงเป็นหน้าที่ขององค์กรกำกับดูแลชุดใหม่ ซึ่งคงต้องใช้เวลาระยะหนึ่งเนื่องจากต้องมีการแก้ไขพรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2543 ในกรณีที่จะยุบรวมองค์กรกำกับดูแลให้เหลือเพียง กสทช. เพียงองค์กรเดียว ตามรัฐธรรมนูญปี ...แต่อย่างน้อยในสภาวะรักษาการและความไม่แน่นอนของพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯฉบับใหม่แบบนี้ กทช.ชุดรักษาการนี้คงไม่กล้าชี้ขาดในเรื่องใหญ่ๆ รวมทั้งยิ่งไม่มีใครสามารถเห็นอนาคตบริการ 3G ในไทยได้เลย..............ทีโอทีเลื่อนหา ซีอีโอ ใหม่ การประชุมบอร์ดทีโอที เมื่อวันที่ 28 กันยายนที่ผ่านมา ได้มีการพิจารณาในเรื่องการสรรหา กรรมการผู้จัดการใหญ่คนใหม่ เข้ามาทำงานแทน สมควร บูรมินเหนทร์ ที่พ้นหน้าที่ไปตั้งแต่ 18 สิงหาคม ที่ผ่านมา ซึ่งที่ประชุมลงความเห็นว่าจะไม่รีบดำเนินการตามตารางเวลาที่วางไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะเลือกให้ได้ในตุลาคมนี้ เพราะประธานบอร์ด พลเอก สพรั่ง กัลยาณมิตร ต้องการได้ พันเอก ดร.นที ศุกลรัตน์ กรรมการบอร์ดเข้ามาเป็นกจญ.แต่พันเอก นที แม้จะเคยเป็นรักษาการ กจญ.พักหนึ่ง แต่ไม่ผ่านระเบียบคุณสมบัติ กจญของทีโอที เดิมตามระเบียบ ”ประกาศคณะกรรมการสรรหาผู้บริหารระดับสูงสุดของTOT” และพ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2543”อย่างไรก็ตามในเร็วๆนี้ทางกฎหมายกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ กำลังแก้ระเบียบผู้บริหารระดับสูงสุดของรัฐวิสาหกิจใหม่ โดยจะให้บอร์ดแต่ละแห่งสามารถกำหนดเงื่อนไขคุณสมบัติ ได้เองเลย ซึ่งทีโอทีต้องการรอระเบียบใหม่นี้ออกมาก่อน แล้วจึงกำหนดคุณสมบัติเองและประกาศเชิญคนทั่วไปที่มีคุณสมบัติเข้ามาสมัคร ผู้บริหารรายหนึ่งของทีโอที กล่าวว่า คุณสมบัติใหม่จะแก้ข้อจำกัดที่ พันเอก นที ไม่ผ่าน ทั้งเรื่องอายุ ตำแหน่งเดิมและประสบการณ์บริหารเงิน 5000 ล้านบาท แม้ว่าก่อนหน้านี้ ฝ่ายบริหารได้สั่งฝ่ายประชาสัมพันธ์จองพื้นที่โฆษณารับสมัครกจญ.ไปแล้ว 2 สัปดาห์ก่อน แต่ถูกยับยั้งยังไม่ประกาศรับสมัครโดยตามธรรมเนียมต้องประกาศรับสมัครใน มีเดีย ครบ 21 วัน และทำการสรรหาภายใน 1 เดือนหลังปิดรับสมัคร อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ ดร.ชิต เหล่าวัฒนา กรรมการบอร์ดและโฆษกบอร์ดทีโอที ยอมรับในสื่อว่า ทีโอที ตัดสินใจเลื่อนรับสมัครกจญ. ไปจากเดิมเพราะเรื่องนี้ โดยกิตติพงศ์ เตมียะประดิษฐ์ จะทำหน้าที่รักษาการไปเรื่อยๆก่อน ทั้งนี้ระเบียบข้อบังคับเดิมกำหนดคุณสมบัติตำแหน่ง กจญ.คือต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 45 ปี ต้องเป็นข้าราชการระดับ C 9 หรือเป็นผู้ช่วยหรือรองอธิบดีระดับกรม หรือ เป็นรองกรรมการผู้จัดการกิจการเอกชน และต้องเคยบริหารเงินโครงการมูลค่าไม่น้อยกว่า 5000 ล้านบาท ทั้งนี้การดำรงตำแหน่งตามที่ระบุมานั้นต้องมีอายุงานในตำแหน่งนั้นมาไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันที่เข้าสมัครคัดเลือก“ผมเองเห็นด้วยที่ตำแหน่งนี้ควรเป็นคนรุ่นใหม่ ไม่ใช่คนที่มีอายุงานเหลือไม่กี่ปีก็เกษียณ โดยเฉพาะ TOT เป็นกิจการโทรคมนาคมที่มีปัญหามากๆ และต้องการความคล่องตัวสูง กล้าตัดสินใจ” ดร.ชิต ให้สัมภาษณ์ในสื่อพันเอก นที ก็มีวุฒิที่น่าสนใจหากตัดเรื่องคุณสมบัติในอายุ และประสบการณ์บริหารเงินมูลค่า 5000 ล้านบาทออกไปดร.สิทธิชัย กล่าวว่า หากทีโอที ไม่มี ส่วนแบ่งรายได้จากเอกชน จากเอกชนที่อยู่ในสัมปทานและค่า access charge ที่บริษัทมือถือบางรายจ่ายให้ทีโอที แล้ว ทีโอที ก็คงขาดทุนในงบการเงินไปหลายปีแล้ว แหล่งข่าวกล่าวว่า พันเอก นที ยังเป็นกรรมการบอร์ดซึ่งต้องการให้ใช้การจัดซื้อด้วยวิธีพิเศษ สำหรับโครงการจ้างเหมาติดตั้งอุปกรณ์ระบบชุมสายและโครงข่ายรองรับการให้บริการบรอดแบนด์ มีมูลค่าโครงการ 976 ล้านบาท ซึ่งรองรับงานด้านความมั่นคงบางส่วน แต่ในที่สุดบอร์ดทีโอที ก็ต้องใช้วิธีการประมูลแบบe-Auction เพราะมีกระแสคัดค้านแรงค่าเอซียังอยู่ในหลุมดำ การประชุมบอร์ดในวันนั้น มีการรายงานเรื่องที่ สุภา ปิยะจิตติ กรรมการบอร์ด ได้เดินทางไปศาลปกครองกลางตามคำสั่งนัดไต่สวนของศาลในคดีที่ทีโอทีขอให้ศาลเพิกถอน คำวินิจฉัยของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ที่บังคับให้ทีโอทีเชื่อมโยงโครงข่ายให้บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค สุภา ปิยะจิตติ กรรมการทีโอที กล่าวว่า ขณะได้รายงานให้บอร์ดทราบกรณีศาลปกครองกลางรับคำฟ้องทีโอทีเมื่อวันที่ 7 กันยายน ให้เพิกถอนประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) และจำเลยร่วมอย่างดีแทค ที่ศาลมีคำสั่งให้เข้ามาเป็นผู้ถูกฟ้องคดีร่วมตั้งแต่วันที่ 25 กันยายนที่ผ่านมา ทั้งนี้ศาลปกครองกลางยังมีคำสั่งให้ กทช.ไปให้การต่อสู้จากคดีที่ทีโอทีได้ฟ้องร้องภายในวันที่ 12 ตุลาคมนี้ ทั้งนี้ปี 2549 ทีโอทีรับรายได้จากค่าเชื่อมต่อเลขหมาย (แอคเซสชาร์จ) หรือค่าเอซี 14,700 ล้านบาท ซึ่งถ้า กทช.และดีแทค ชนะคดีค่าไอซี อาจส่งผลให้ทีโอทีต้องสูญเสียรายได้ 14,700 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 10 ปีของอายุสัญญาสัมปทาน หรือประมาณ 147,000 ล้านบาท. ออกโปรโมชั่นยื้อวิกฤติ การกอบกู้สถานะของทีโอที ได้มีความพยายามทำมาต่อเนื่อง แม้จะช้าไปบ้าง แต่โปรโมชั่นแรกของปีนี้ก็ออกมาจนได้โดยการอัดโปรโมชั่นทั้งบรอดแบนด์ อินเตอร์เน็ตและ โทรพื้นฐาน เพื่อประคองรายได้หลักไม่ให้ตกเร็วไปกว่านี้ โดยทั้งสองบริการเป็นโปรโมชั่นแรกของปีนี้ ทั้งนี้ โปรโมชั่น TOT hi-speed internet ในชื่อ“แรงทั่วไทย” ให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง 1 เมกกะบิต เหมาจ่ายแค่ 590 บาท และหากต้องการความเร็วด้วยเน็ต 2 เมกกะบิตเหมาจ่าย 1,000 บาทใช้ได้ไม่จำกัดและ ไม่มีค่าแรกเข้า ส่วนโทรพื้นฐาน เสนอบริการด้วยราคาเหมารวม 399 บาทต่อเดือน โดยลุกค้าเบอร์ ทีโอที สามารถโทรไปที่เบอร์บ้านของทีโอที ทรู หรือ ทีทีแอนด์ที ได้ฟรีตลอดเวลา นอกจากนี้หากโทรจากเบอร์บ้านทีโอที ไปที่เบอร์มือถือ จะคิดราคานาทีละ 1 บาท ทั่วประเทศ โดยไม่มีอัตรานาทีแรกเหมือนอย่างบริการมือถือที่ออกมา ในส่วนของบรอดแบนด์ที่ความเร็ว 512/256 กิโลบิต ของเดิมก็ได้มีการปรับราคาลงมา เหลือเหมาจ่าย 570 บาทจากเดิมค่าบริการเหมาจ่ายอยู่ที่ 700 บาท ส่วนอินเทอร์เน็ตความเร็ว 256/128 กิโลบิตอัตราค่าบริการยังอยู่ที่ 500 บาทเท่าเดิม นอกจากนี้ ธุรกิจให้บริการ fixed line service ซึ่งเคยเป็นธุรกิจหลักตลอด 40 กว่าปีที่ผ่านมาลดลงเรื่อยๆ แม้ส่วนแบ่งรายได้จากสัมปทานจะมากขึ้นแต่อายุสัมปทานก็เหลือน้อยลงทุกที ขณะที่รายได้จากบริการใหม่ๆ ที่ เคยวาดหวังไว้ ไม่ว่าจะเป็น Thai Mobile หรือ broadband internet ต่างเต็มไปด้วยปัญหา และอุปสรรค ทำให้ยังไม่สามารถช่วยอะไรได้มากนักข้อพิพาท กสท -หัวเหว่ย เข้มข้นขึ้น พลอากาศตรี พิริยะ ศิริบุญ โฆษกบอร์ดกสท โทรคมนาคม กล่าวว่า เมื่อวันที่ 21 กันยายนที่ผ่านมาบอร์ด ได้ประชุมวาระพิเศษที่หน่วยงานทหารแห่งหนึ่ง โดยมีการหารือในเรื่องที่คณะทำงาน ของกสท ได้ไปเจรจารับทราบข้อเสนอของทางผู้บริหารหัวเหว่ย เทคโนโลยี ในเรื่องค่าปรับโครงการ CDMA เฟสสอง ที่ล่าช้า ซึ่งกสท ยืนยันว่าต้องปรับตามข้อสัญญาและดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดทั้งนี้คณะทำงานรายงานว่า หัวเหว่ยยังมีความเข้าใจในสัญญาไม่ตรงกับกสท คือ ฝ่ายกฎหมายของกสท เข้าใจว่า TOR กำหนดให้หัวเหว่ย ต้องติดตั้งอุปกรณ์ high speed data software (release A) ในเครือข่ายทั้งหมดด้วย แต่ทางหัวเหว่ย อ้างว่าในสัญญาจ้างงานระบุเพียงการติดตั้งในเวอร์ชั่น release 0 ให้ทันเวลา 26 มกราคมที่ผ่านมา เท่านั้น ส่วน release A สามารถดำเนินการในภายหลังได้พล.อ.ต.พิริยะ กล่าวว่า ในการประชุมบอร์ดครั้งหน้า จะมีการเสนอให้กสท ทำหนังสือถึงสำนักงานใหญ่ของหัวเหว่ยที่จีน ที่จีนเพื่อรับทราบถึงปัญหาทั้งหมด และให้พิจารณาว่าจะยินยอมในค่าปรับวันละ 90 ล้านบาท หรือ จะยุติดำเนินการเพื่อยกสินทรัพย์ที่ทำไปแล้วให้กสท ไปจัดการต่อเอง“เขาแจ้งมาว่าอุปกรณ์ high speed data software (release A) มีการเตรียมไว้แล้ว แต่ขอเจรจาความชัดเจนในเรื่องค่าปรับ ซึ่งวันนี้ค่าปรับยังเดินอยู่ เพราะในมุมของกสท ต้องส่งมอบอุปกรณ์ครบทั้งหมดก่อน จึงเริ่มคำนวณค่าปรับย้อนหลังทั้งหมด”ทางกสท มองว่า สัญญาที่หัวเหว่ย ทำกับกสท นั้นเปิดช่องให้กสท.สามารถดำเนินการทางกฎหมายอย่างได้เปรียบ เพราะมีระบุว่า”กสท.สามารถบอกเลิกสัญญาได้ทันทีหากมีการดำเนินการผิดข้อสัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง” ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลกมาก อาจเป็นเพราะโครงการนี้ประมูลในช่วงที่รัฐบาลทักษิณ และทางหัวเหว่ย ค่อนข้างมั่นใจในรัฐบาลที่แล้วว่าคงอยู่นาน จึงไม่ต้องระวังในจุดที่เสียเปรียบอะไรมากนัก เพราะกรณีที่เกิดขึ้นนี้หาก กสท อยากหาเรื่องก็ถือว่า หัวเหว่ย ผิดสัญญาแล้ว และทำการยึดอุปกรณ์ที่ติดตั้งทั้งหมดได้เลย ส่วนเรื่องฟ้องค่าปรับล่าช้าก็ยังดำเนินการได้อีก ในมูลค่าที่มากพอสร้างโครงข่ายใหม่ได้เลย“พอรัฐบาลเปลี่ยนไป เราไม่ได้มีอคติแต่เราต้องรักษาค่าเสียโอกาสของกสท ด้วยเพราะเลาที่เสียไปทำให้การแข่งขันทางธุรกิจหายไป”โฆษกบอร์ดกสท กล่าวว่า เขาอยากตั้งข้อสงสัยว่าหัวเหว่ย อยากให้เกิดความชัดเจนโดยเร็ว หรือรอการเปลี่ยนรัฐบาลใหม่เพื่อรอความหวังอะไรหรือไม่ เพราะเรื่องนี้ยืดเยื้อมานาน ตั้งแต่ที่ควรส่งมอบให้วันที่ 26 มกราคมที่ผ่านมา ซึ่งแม้มีการส่งมอบมาจริง แต่กสท ยังไม่อนุมัติการตรวจรับอุปกรณ์ให้จนถึงวันนี้เขากล่าวด้วยว่า ตามระเบียบพัสดุการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานรัฐนั้น เมื่อเอกชนคู่สัญญาทำงานล่าช้า และมีค่าปรับเกิดขึ้นถึง 10% ของมูลค่าโครงการแล้ว รัฐต้องแจ้งและถามเอกชนว่าจะจ่ายค่าปรับหรือหยุดโครงการเพื่อยกให้รัฐไป และเมื่อค่าปรับถึง 20% ก็จะถามเอกชนอีก โดยรัฐจะพยายามไม่ให้ค่าปรับถึง 50% เพราะเสี่ยงต่อเอกชนและโครงการรัฐกสท วิกฤติรายได้ตั้งแต่ปีหน้า ผู้บริหารระดับสูงของกสท กล่าวกับ Telelcom Journal ว่า ขณะนี้ผู้บริหารระดับสูงของกสท ค่อนข้างมั่นใจสูงว่า บริษัทจะเริ่มขาดทุนจากการดำเนินงานของตัวเอง (ไม่รวมรายได้ที่รับมาจากสัมปทานเอกชน) ตั้งแต่ไตรมาสแรกของปีหน้า เพราะบริษัท กำลังประสบปัญหาการทำรายได้ของโทรต่างประเทศ International Direct Dialing(IDD) ซึ่งเป็นรายได้หลักขององค์กรมาตลอดอย่างไรก็ตามรายได้ IDD ได้ลดลงตามลำดับ และยังกำลังถูกแย่งส่วนแย่งตลาดจากเอกชนทั้ง AIN(AIS International Network) บริษัทลูกของเอไอเอส , DTAC network(บริษัทลูกของDTAC) ซึ่งหากเอกชนทั้งหมดรวมทั้งค่าย True Corporation เดินหน้าทำตลาดIDDเต็มที่แล้ว กสท จะมีปัญหาวิกฤติรายได้ทันทีทั้งนี้รายได้รวม6เดือนแรกของกสท เท่ากับ 22,000 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 4,672 ล้านบาท ซึ่งดูลวงตา เพราะหากพิจารณาจากในส่วนของกสท เอง พบว่า มีรายได้ประมาณ 10,000 ล้านบาทหรือต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของรายได้จากสัมปทานแล้ว และมีกำไรสุทธิเพียง 514 ล้านบาทเท่านั้นนอกจากนี้หากแยกที่มาของรายได้ที่กสท ทำเอง 10,000 ล้านบาทนั้น พบว่ามาจาก IDD ถึง 5000 ล้านบาท นั่นหมายความว่าหากเอกชนแย่งส่วนแบ่ง IDD ไปเพียง 10% ก็ทำให้กสท แทบไม่มีกำไรจากการดำเนินธุรกิจเองแล้ว “ในความเป็นจริงมันต้องถูกกระทบมากกว่า 10% ซึ่งอาจจะเกือบ 50% นั่นหมายความว่ากสท เริ่มขาดทุนได้ทันทีที่เอกชนทำตลาดเต็มที่ ซึ่งก็จะเป็นเหมือน ทีโอที ซึ่งวันนี้อยู่ได้เพราะรายได้จากสัมปทาน”วันนี้กสท ยังมีปัญหากับเอกชนอยู่ โดยกำลังเจรจาหาข้อยุติกรณี DTAC กรณีที่DTAC เปลี่ยนทิศทางปริมาณการโทร.ออกภายในเครือข่ายของโทรศัพท์ระหว่างประเทศ จากเดิมที่ลูกค้ากดรหัสเครื่องหมาย+ จะแปลงเป็นรหัส 001 ของ กสท ให้เปลี่ยนมาเป็นการการส่งผ่านเครือข่ายของบริษัท DTAC Network ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของดีแทคนอกจากนี้กสท ได้เตรียมยื่นฟ้องเรื่องดังกล่าวต่อกทช. เพื่อให้ดำเนินการตรวจสอบกรณีดังกล่าว เนื่องจากเป็นการสร้างความสับสนต่อผู้ใช้บริการที่ใช้เครื่องหมาย+ ในการเรียกออกต่างประเทศ ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้รับการจัดสรรเลขหมายจากกทช.ทั้งนี้ดีแทค ได้รับใบอนุญาตประเภทที่ 3 แบบมีโครงข่ายเป็นของตนเองตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ ซึ่งบริษัทเข้าใจว่าบริการดังกล่าวจะสามารถเริ่มให้บริการได้ภายในปีนี้ก่อนหน้านี้ กสท ก็เคยมีปัญหาในลักษณะเดียวกันนี้กับเอไอเอส ซึ่งเมื่อลุกค้ากดเครื่องหมาย + ก็จะโอนเข้าโครงข่ายบริษัทลูกของAIS คือ AIS International Network(AIN) ทีโอทียื้อผลอนุญาโต หมื่นล้าน ต่อไป นุกูล บวรสิรินุกูล รักษาการประธานสภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ทีโอที กล่าวว่าเขาได้ยื่นฟ้องต่อศาลอาญา เพื่อดำเนินการทางกฎหมายกับ ประสิทธิ์ โฆวิไลกุล ประธานอนุญาโตตุลาการตัดสินข้อพิพาท ทีโอที กับ ทรู คอร์ปอเรชั่น กรณีปกปิดข้อมูลไม่ชี้แจงให้หมดว่า เป็นกรรมการอยู่ในอลิอันซ์ ซี.พี.ประกันชีวิต ในระหว่างที่ทำหน้าที่ประธานตัดสินข้อพิพาทให้ทีโอที แพ้คดี และต้อง จ่ายทรูกว่า 9,000 ล้านบาทไม่รวมดอกเบี้ย ซึ่งทีโอที ได้ยื่นศาลปกครองสั่งโฆฆะมติอนุญาโตและกำลังรอกระบวนการพิจารณาอยู่เขากล่าวว่า ที่ผ่านมาประสิทธิ์ แจ้งเพียงว่าเป็นกรรมการในอลิอันซ์ ซีพี ประกันภัย เท่านั้น ซึ่งบอร็ดในยุคนั้นมี นาย สถิต ลิ้มพงศ์พันธ์ เป็นประธานบอร์ดก็ไม่ได้คัดค้าน รวมทั้ง ปริญญา วิเศษสิริ รองกรรมการผู้จัดการ ที่ดูแลด้านกฎหมาย ซึ่งต่อมา ปริญญา ถูกโยกย้ายงานและถูกสอบจนปัจจุบันไม่ต่อสัญญาจ้างงานแล้วนุกูล กล่าวว่า เขาจะเรียกร้องให้บอร์ดออกมารับผิดชอบข้อพิพาท ที่ทำให้ทีโอที เสียหายกว่า 9 พันล้านบาทด้วย เพราะเอกสารที่ระบุว่าประสิทธิ์ เป็นกรรมการในซี.พี.ประกันชีวิตด้วยนั้น ถูกตรวจพบมาระยะหนึ่งแล้ว แต่มีกรรมการบอร์ดบางรายสั่งด้วยวาจาต่อกรรมการผู้จัดการใหญ่ มิให้นำเอกสารนี้ส่งให้อัยการนช่วงที่มีการร้องเรียนกันเขากล่าวว่า ต้องแยกพิจารณา 2 ประเด็นคือ1. ประสิทธิ์แจ้งว่าเป็นกรรมการในอลิอันซ์ ซีพี ประกันภัย บอร์ดทีโอที ก็ควรคัดค้านการเป็นประธานของประสิทธิ์ แต่ก็ไม่ได้ทำ ถือว่าบอร์ดฝ่ายกฎหมายมีความบกพร่อง2. ประสิทธิ์ ปกปิดไม่ชี้แจงให้หมดว่า เป็นกรรมการอยู่ในอลิอันซ์ ซี.พี.ประกันชีวิต ด้วยถือเป็นความผิดทางอาญาทั้งนี้ตามเอกสารระบุว่า ประสิทธิ์ เป็นกรรมการบริษัท เจริญโภคภัณฑ์ ประกันชีวิต เลขที่จดทะเบียน 753/2540 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น อลิอันซ์ ซี.พี.ประกันชีวิต เป็นคนละบริษัทกับบริษัท อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันภัย เลขที่จดทะเบียน 754/2540 ที่ ประสิทธิ์ เคยแจ้งไว้ต่อคณะอนุญาโตตุลาการกรณี ผลประโยชน์ขัดแย้ง เท่ากับเป็นการปกปิดผลประโยชน์ที่ได้รับ ต่อมาปี 2547 บริษัท อลิอันซ์ ซี.พี.ประกันชีวิต ได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท โดมิดี้ จำกัด และจดทะเบียนปิดกิจการวันที่ 30 กรกฎาคม 2547 ชำระบัญชีเสร็จสิ้นวันที่ 19 สิงหาคม 2547 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ ประสิทธิ์ ยังทำหน้าที่ประธานอนุญาโตตุลาการ ถือว่ามีความผิดตามมาตรา 19 พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ ที่กำหนดให้อนุญาโตตุลาการต้องมีความเป็นอิสระ ไม่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง ผู้บริหารกลุ่มทรู กล่าวว่า กล่าวว่า เรื่องนี้หากทีโอที ต้องการจะพิสูจน์ก็เข้าสู่กระบวนการกฎหมาย อย่างไรก็ตามเขาเชื่อว่ากรณีของประสิทธิ์ คงไม่มีผลต่อการตัดสินของคณะอนุญาโตตุลาการที่ผ่านมา เพราะบริษัท ซีพี ผู้ถือหุ้นในทรู เสนอรายชื่อกรรมการอนุญาโตคนอื่นเป็น แต่ประสิทธิ์ ถุกเสนอโดย "อลิอัลซ์"ให้เป็นคนดูแลผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นเยอรมันเท่านั้น ดังนั้นประสิทธิ์ ไม่ใช่นอร์มินีกลุ่มซีพี“ซีพีไม่ได้เสนอชื่อเขาในความเป็นจริง เขาถุกส่งมาเพื่อจับผิด ซีพี ด้วยซ้ำ”ส่วน ความคืบหน้าของคดียังอยู่ระหว่างศาลปกครองพิจารณาคำร้องของTOT ที่ต้องการให้สั่งโมฆะผลอนุญาโตตุลาการ“เราก็ต้องการเงินส่วนแบ่งนี้ แต่อนาคตอยู่ที่ว่าหากคดีเป็นที่สิ้นสุดทั้งหมด มีข้อเสนอที่ดูมีเหตุผลหรือสามารถ เปลี่ยน เป็นอย่างอื่นได้หรือไม่”ผู้บริหารทรู กล่าว เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ปีที่แล้ว คณะอนุญาโตตุลาการได้มีมติตัดสินด้วยเสียงเห็นชอบ 2 ใน 3 ให้TOT ชำระค่าเสียหายแก่ True จำนวนกว่า 9,175 ล้านบาทพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 โดยให้นับจากวันที่ 22 สิงหาคม 2545 ทาง ทีโอที จะต้องดำเนินการชำระภายใน 60 วันนับจากที่ผลชี้ขาด และทีโอทีจะต้องแบ่งผลประโยชน์จากการเก็บค่าบริการดังกล่าว ในอัตราร้อยละ 50 ของรายได้ที่รับจริงนับจากวันที่ 23 สิงหาคม 2545 ค่าเสียหายที่ทีโอทีจะต้องชำระให้ทรูในครั้งนี้ อยู่ภายใต้การคำนวณจากเลขหมาย ทรูคูณด้วยผลตอบแทน ทีโอทีที่ได้รับ แล้วนำไปหารจากจำนวนเลขหมายทั้งหมดของTOT,True,TT&T เมื่อได้ตัวเลขแล้วดังกล่าวก็จะหารด้วย 2 ซึ่งTOT จะต้องจ่ายไปจนกว่าจะหมดอายุสัมปทานอีกด้วย ต่อมาทีโอทีเสนอให้ศาลปกครองพิจารณาว่า บุคคลที่ดำรงตำแหน่งประธานคณะอนุญาโตตุลาการไม่มีความชอบธรรม ไร้ความเป็นอิสระและเป็นกลางในการพิจารณาคดีความ เนื่องจากพบว่า ประสิทธิ์ประธานคณะอนุญาโตตุลาการมีส่วนได้เสียและมีความเกี่ยวพันกับทาง True ซึ่งเป็นคู่พิพาทของTOT โดย เขาดำรงตำแหน่งกรรมการ บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซีพี จำกัดซึ่งเป็นหนึ่งบริษัทในเครือซีพี และดำรงตำแหน่งเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวซึ่งได้รับการสนับสนุนจากเครือซีพีเช่นกัน ซึ่งอาจทำให้การพิจารณาคดีความย่อมต้องพิจารณาถึงประโยชน์ส่วนตนด้วย นอกจากนี้ ทีโอที ยังระบุว่า การเรียกเก็บค่าเชื่อมโยงโครงข่ายจากบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ จากผู้ให้บริการที่เป็นคู่สัญญาของ กสท เลขหมายละ 200 บาทต่อเดือนนั้นมีมาก่อนที่ ทีโอที จะทำสัญญาร่วมการงานกับTrue และTrue ก็รู้อยู่ก่อนแล้วจึงไม่มีความจำเป็นที่ทีโอทีต้องจ่ายส่วนแบ่งดังกล่าวให้เอกชนคู่สัญญา ...........ทั้งหมดนี้เพียงส่วนหนึ่งของเรื่องที่เกิดขึ้นแล้ว และยังไม่ถึงจุดจบของมัน ไม่นับรวมเรื่องปัญหาที่กำลังจะทยอยเกิดขึ้น รวมถึงค่าเสียโอกาสของบริการใหม่ๆ ที่เอกชนสามารถทำได้ และประชาชนสามรถใช้บริการ รวมไปถึงประโยชน์ของหน่วยงานรัฐที่กำลังหดหายไป และมีโอกาสหดหายไปกว่าที่ควร หากการวางระบบและกรอบการกำกับดูแล ไม่ดีพอ............ยิ่งหากรัฐบาลหน้า จะเป็นแค่รัฐบาลคั่นเวลา สั้นๆด้วยแล้ว ยิ่งน่าห่วงเป็นทบทวี..!!

Mobile ads: The next big ring

Mobile ads: The next big ring
Bangkok Post (6 October 2007)

It's only a matter of time before the new medium catches on in Asia, predicts a research company

The media industry in Asia, which is already encountering heavy turbulence from the shift of adverting revenues to new media, is set to face a new challenge in the near future as advertising on mobile phones becomes more of a trend in the region, a leading research house predicts. ''Mobile advertising has the potential to become more successful than internet advertising as the delivery medium is more immediate and personal,'' Jeff Teh, a senior research analyst at Frost & Sullivan, said in a recently issued report. ''The mobile audience in Asia is indeed larger and more immediately reachable than the online users, and with the increasing ubiquity of internet access over mobile handsets, the web browsing experience is available to a large new audience.'' Mobile advertising, something that is gradually picking up in more technologically developed countries such as Germany, South Korea, Italy and the United Kingdom, is emerging as the medium in which global giants such as Google, Yahoo and MSN are all taking a keen interest and are looking to tap into to expand their reach and profitability. The big UK mobile company Vodafone, according to Mr Teh, has already carried out trials with both Yahoo and Google in various markets of a new ad-based model. Nokia, the world's largest mobile handset manufacturer, has already launched Nokia Ad Service and Nokia Advertising Connector in order to position itself as managed mobile ad service provider and to act as the intermediary in bringing participants in the value chain together. As Asia is witnessing a boom in the mobile-phone industry, and the region is skipping a generation in certain countries such as China and India, the hotbed for future growth of this industry is likely to be this part of the region, Mr Teh says. Japan, he says, is the market leader in Asia for such services. Mobile-phone operators in Japan are required by regulations to provide subscribers with an option to enable reception of mobile ads or to turn it off if they wish not to receive commercial messages. Mr Teh says that operators in India and some Southeast Asian countries are also developing platforms for delivery of such services in the near future, although technological advancement of the network is crucial to the delivery. He says that in Asia Pacific, the initial introduction of mobile advertising is expected to focus on mobile search services and WAP-based advertising. Initially, mobile operators' approach to advertising is expected to be driven largely by partnerships with big brands that are keen to explore new media alternatives, since television advertising is increasingly failing to capture an audience's attention. He added that big brands could now enjoy the opportunity to reach consumers through mobile advertising although many are hesitant to take the plunge. Traditionally, media buyers need case studies and research to back up a proposition to a client. Therefore, the brands are seeking proof that an investment in leveraging the mobile advertising medium would be justified. He says that as mobile operators have a direct relationship with their subscribers, this results in very valuable raw data that can be used to provide targeted ad campaigns. Further, the operator also has a strong influence as it acts as the gateway to the subscribers. To this end, operators must realise their significance and position in this industry, and should act quickly not to let this alternative revenue stream merely contribute via traffic charges and minimal revenue shares. But he says the anticipation is that mobile operators will only start to become more involved in advertising when the industry develops further in the areas of consumer acceptance and the willingness to receive ads over the mobile phones. Despite the potential the new medium carries, it is still in its infancy and key challenges remain that needs to be sorted out before the industry can move forward. Mr Teh says that several factors are expected to drive the proliferation of mobile as an advertising medium, which includes improvement of mobile data delivery, 3G services, which would enable the delivery of richer media services, and consumer awareness in mobile data services. Despite the notion that the emerging markets were keen adopters of mobile advertising, Frost & Sullivan believes that the continued improvement of mobile penetration rates and increasing mobility trends are expected to drive the growth of this segment across the Asia Pacific markets. Among the other challenges is the fact that there is no clearly defined successful business model to convince companies to advertise and to allocate budgets to the mobile medium. But Mr Teh said that a change in the content provided in the model was likely to be the key driver for the growth of the industry in the near future as having web access through the handheld devices starts to catch on among consumers in the region.
He says that one business model that has shown the most positive indications of success is the ad-funded or sponsored-content model, where subscribers get to download or access content for free in exchange for receiving selected ads either as a precursor to the ad or embedded within a downloadable application. Incentive-based ads such as offering cash, free minutes, downloads and discount coupons are also an attractive way of pushing content. He added that despite offering free downloads the key here would be how much advertising a user was willing to accept in exchange for a free service. ''Ultimately, Frost & Sullivan believes that mobile advertising will be successful with hybrid combinations of targeted mobile advertising campaigns coupled with traditional print ads,'' he said. Citing the example of Blyk, a European mobile operator, he says that this first pan-European ad-funded mobile network, which offers customers free mobile phone calls and texts in return for receiving ads on their mobile handsets, could be a recipe that Asian operators could look into.

Samsung profits from go-it-alone strategy

Samsung profits from go-it-alone strategy
Bangkok Post ( 6 Oct 2007)

Samsung says its mobile handset sales have improved significantly since it began doing its own distribution after its main local distributor terminated its contract. But the South Korean company has faced higher costs from the expansion of its sales team to cover dealers nationwide, said Kwang Ki Park, managing director of Thai Samsung Electronics. Mr Park said Thai Samsung would no longer use an outside distributor in Thailand but would operate its own distribution channels and appoint wholesalers to sell particular phone models. Samsung was accused recently of selling outdated models of mobile phones to its main distributor, Sam Corporation, a subsidiary of SET-listed TWZ Corporation, and providing no marketing support. Sam Corp filed fraud charges on July 23 against Mr Park and Thai Samsung general manager Chung Jun Kim, claiming it had suffered losses totalling 63 million baht. The case has also prompted other retailers to file fraud complaints with the Crime Suppression Division, claiming they encountered similar problems. The case between Thai Samsung and Sam Corp is now before the courts, with Samsung executives required to report to court on Monday. Mr Park said that his company's monthly sales volume rose by 20% this month to 120,000 units and the figure would increase to 150,000 in December. He said the increased sales in the fourth quarter were expected to compensate for a sharp reduction of handset sales in the second quarter. ''We expect to see an increase of between 15% and 16% in sales volume to 1.2 million units this year. Revenue would increase by 4-5%,'' he said. Mr Park also said that Sam Corp would have no longer exclusive rights since it did not pass the three-month probation period, due mainly to limited distribution coverage and poor stock management control. He said Thai Samsung had signed only a letter of appointment, not a contract, to designate TWZ as its sole distributor on Dec 20 last year. The exclusive distribution right was transferred to Sam Corporation on Jan 1 this year. Mr Park also dismissed allegations that Thai Samsung did not pay incentives to 700 dealers. The company has paid 4.12 million baht worth of incentives out of a total of 4.23 million and the rest were now being processed, he said. Thai Samsung Electronics reported US$1.3 billion in revenue last year. Of the total, 65% came from exported products with the remaining 35% from the domestic market. The company was the largest electronics exporter in Thailand according to Board of Investment, said Mr Park.

IT TO GO ON THE OFFENSIVE

IT TO GO ON THE OFFENSIVE
Bangkok Post (3 Oct 2007)





John Pescatore, Gartner VP, explains how Security 3.0
will be about baking in security earlier in the systems
lifecycle rather than reacting to threats.


The IT industry today is on the cusp of embracing ''security 3.0.'' For the first time since the advent of the PC, the focus changes from reactive security to a proactive one through ''baking in'' better security earlier in the systems development processes, according to Gartner Internet Security Group vice president John Pescatore. Speaking at the Gartner IT Security Summit in London, Pescatore explained by way of analogy how historically improved safety related to building fires and shipping did not come from the firefighters or coast guard, rather they came through planning and regulation from insurance companies. Similarly, security 3.0 will not come out of the IT security department, but through using policies to move security up the software development chain and embedding security in programming and eventually systems and outsourcing contract design. He observed that IT security seemed to be conducted in a way where people hoped they were secure, rather than knew what was going on. This is in contrast to the retail industry, where it is customary to spend 1.5 percent of revenue to bring shoplifting losses down. Today many IT departments are seeing security eat up to nine percent of their budget, a trend which is unsustainable. According to Pescatore, security 1.0 was in the day of the mainframe, a time when he was working at the United States National Security Agency (NSA). Back then in the 1970s, a user would be assigned a terminal and a time slot by the system administrators. They decided exactly what could be done and not done in a completely locked down system. Security was achieved by restricting the user. However, it failed in its greater mandate to provide for IT needs the same way centralised economic planning failed in communist countries. Security 2.0, which is where we are today, is what Pescatore described as ''data anarchy'' and likened the security department's practices to the fairground ''Whack-a-mole'' game. In this game, moles pop out of a series of holes and the player has to hit them with a hammer within a split second in order to score points. Similarly today's security is reactive and success is often measured in time to patch systems. Security 2.0 began with the age of the PC. Freed from the mainframe IT department, users downloaded sensitive corporate data to model it on their PCs and later their laptops, because the enterprise reporting tools were too rigid. And quite often they would lose their laptops along with that sensitive data somewhere along the line. Another characteristic of security 2.0 is the tendency for the overwhelmed IT departments to say no to any new technology, which is then brought in anyway through the back door. Pescatore said that during the early days of Wi-Fi, he could bet that every company who said no to Wi-Fi deployments would have at least two rogue access points. One would be in the shipping department as DHL had rolled out wireless equipment to its customers and the other would be in the director's office as his couch was a bit too far from the LAN to be able to reach comfortably. Rather than react to this after the fact, security 3.0 would say that since we know that Facebook and iPhone are coming one way or another, security policies should look ahead to likely trends and plan on how to cater for them. But in order for that to happen, they need to be freed from the day to day chaos first. In the age of security 3.0, the nature of attacks has also changed. It is no longer the worm or virus aimed at causing damage and disruption, but it is a group of professional criminals aimed at financial gain. The TJ Maxx case, where credit card details were stolen, was not aimed at humiliating the company but at making lots of money though selling those credit card details. It cost the US retail giant around US$150 to 225 million to compensate for fraud and to pay the banks who issued new cards _ roughly twice what it would have cost to prevent the breach in the first place. Prevention in the age of Security 3.0 is done proactively. By giving the security tools to the application development team to preempt just half of the number of security lapses before they are caught by the security team, the cost of security would be reduced by a factor of five. Pescatore estimates that the cost of preventing a vulnerability during the development phase is just between one and two percent of the cost to repair the damage it has inflicted once a piece of malware goes live and data is compromised. Taking that thought forward, security metrics and goals should be put into requests for proposals so that security becomes the responsibility of the partner or vendor. Pescatore uses the term ''baking in'' security costs earlier in the systems lifecycle into outsourcing projects and even into products and appliances as a key feature of security 3.0. Vendors who do not comply will not get the contracts, he noted. In turn, this will help reduce the percentage of security in the IT budget and free up resources for innovation and for proactive security planning.