Financial system leaves out the poor
The Nation (4 October 2007)
People at the bottom of the social ladder in Thailand commonly suffer from an inability to make appropriate decisions in managing their personal finances, says the Bank of Thailand (BOT). Four per cent of total households lack access to a savings account, and 15 per cent cannot obtain bank credit. Potential savers are thwarted by high minimum-deposit requirements, while credit-seekers feel "inadequate" because they have little or no collateral to offer. These findings come from a BOT survey of 11,162 Thai households. Wilatluk Sinswat, a member of the research team, said that as well as the painstaking need to increase the understanding of simple money management, an increase in access to finance and more comprehensive credit databases could help widen opportunities for low-income earners. While 83.65 per cent of respondents said they banked and borrowed from approved financial institutions, a staggering 9.61 per cent reported neither savings nor a credit history. This excluded the 3.3 per cent who were at the mercy of informal lenders. The survey found Thais' general knowledge of financial products to be slightly lower than that of their Asian neighbours. They were familiar with an average of 3.5-3.9 products. Seventy-two per cent of respondents had most of their household assets in real estate, and an average household had 55 per cent of its financial assets in a savings account.
Commenting on the survey, Somchai Jitsuchon, a development economist with the Thai Development Research Institute, argued that access to finance and education had to go hand-in-hand. He said high-income households with plenty of assets could withstand cash-flow stress and interest-rate shocks better than those on low incomes. The survey confirmed the belief that Thai households had a low debt-to-assets ratio. Assets accounted for about 230 per cent of gross domestic product (GDP) last year, while debt was only 25 per cent of GDP. But the gap between rich and poor remained large. However, the BOT's economists said the Thai economy might soon escape the dreaded "doom loop" as banks toughened their lending practices and beefed-up risk assessment and management. The commercial banks' voluntary bridle on growth, together with growing professionalism, increasing transparency, disciplined governance on the corporate side and a sprinkle of regulation, could spell an end to the vicious cycle of lax lending, exploding bad debts and inflation. Key data gathered from commercial banks from the second half of 2004 through the first half of this year show the gross rate of non-performing loans fell from 12.6 per cent to 8.5 per cent during that period. "This indicates that banks have learned to discriminate good risks from bad ones," said Krongkaeo Kritayakirana, one of the central bank's research economists. The research adopts the default rate and the loss rate as two principal measurements: the former gauges the number of defaults from total debts, while the latter looks at defaults in baht terms. The study shows that default rates are sensitive only to real interest rates and not to real GDP. But such optimism is not without its critics, particularly from practitioners. Siam Commercial Bank executive vice president Veerathai Santiprabhob pointed out that the study was made during the good times of an economic upturn. "If [the BOT] had taken statistics from the past two years, then the findings and analysis might have come out differently," he said. Veerathai also raised the issue of competitiveness among Thai firms over the next five to seven years and the question of how banks would be able to keep up with an ever-changing landscape, including the possible liberalisation of capital flows and corporate consolidation. Therapong Vachirapong, deputy managing director of Phatra Securities' Research Division, commented that it was difficult not to account for other contagious factors influencing the new lending attitude of banks, such as the current global credit crunch, partly accelerated by the US sub-prime debacle.
Thailand Best may get a broader role
The Nation (4 October 2007)
The Industry Ministry is considering using the Saha Group's Thailand Best brand to guarantee premium-quality products, in a bid to boost the export competitiveness of local manufacturers and help them expand into more than 100 countries. This idea was proposed by the Board of Trade of Thailand's Committee on Development of Industrial Business. After a meeting with Deputy Industry Minister Piyabutr Cholvijarn yesterday, Saha Group president Boonchai Chokwatana, who is also a member of the committee, said the group had created the Thailand Best standard since the 1997 economic crisis to raise foreigners' confidence in Thai products. The group has tried to get the public sector to endorse the brand for nearly 10 years, but there had been no interest, he said. However, about 50 local brands have been granted use of the Thailand Best symbol to guarantee their products, including Srithai Superware, which exports to more than 70 countries. "We [the Saha Group] spend a lot of money promoting this symbol in the domestic market. If the public sector continues strengthening and promoting it internationally, it will assure both local and foreign consumers that they are getting premium products from Thailand," Boonchai said. However, he warned that a significant condition upon use of the symbol was that local companies must be at least 51-per-cent Thai-owned.
"This is an important condition, because we would like to promote premium products and excellent service that belong to Thais, not foreigners," he said. Thai businesses operating abroad - for example, restaurants and spas - can also apply to use the Thailand Best brand, to help boost their business. Besides adopting the Thailand Best brand, the committee also suggested to the Industry Minister that the government focus more on supporting biotechnology and bioplastics. Committee's chairman Sanan Angubolkul said this was necessary for local manufacturers, particularly in the food industry, because of concerns about the environmental and health awareness. Board of Investment (BoI) deputy general secretary Sudjit Inthaiwong said the BoI gave its full support to manufacturers purchasing green technology and energy-saving machines to improve their production by exempting them from corporate tax. Manufacturers applying for tax incentives in these projects come mostly from the petrochemical, chemical and electronics industries.
Experts address financial weaknesses
The Nation (4 October 2007)
Thailand's international investment position has shown weaknesses, in particular the mismatch of asset distribution and allocation as well as relatively low overseas investment by the private sector, economists said yesterday at the Bank of Thailand Symposium 2007. The economists also suggested that the BOT's capital-control measures should not be maintained for too long, otherwise they will contribute to price distortions, worsening natural resource distribution and leading to less desirable capital inflows. BOT senior economist Yunyong Thaicharoen said the country's net foreign liability position had gradually decreased, but the improvement was caused by significant increases in international reserves rather than assets of the private sector. Foreign reserves doubled to US$66.98 billion (Bt2.27 trillion) between 2001 and 2006. However, foreign assets, owned mostly by the central bank, could be adversely affected by the appreciating baht. Most liabilities are owned by non-bank companies, posted at $119.3 billion - 10 times higher than assets. "It is the mismatch problem that we must address. The financial position has greater risk and has been fragile as a result of the existing diversification," said Yunyong, who also presented a paper along with other two other economists, Ashvin Ahuja and Sra Chuenchoksan, entitled "Big Elephants in Small Ponds: Risk Absorption, Risk Diversification, and Management of Capital Flows". Moreover, 91 per cent of the Kingdom's foreign assets are debt instruments while only 8 per cent are equities. Most liabilities are also equities. Yunyong said the figures reflected a lack of liquid management in the public sector and inefficient investment ability in the private sector. Ashvin said financial openness gave strong evidence of supporting growth via equity markets and foreign direct investment by reducing capital costs and boosting investment growth. However, there is thin evidence that firms with an extra reduction in risk premiums invest more than during the pre-liberalisation period. "Thus, it may be concluded that we (Thailand and emerging markets) still cannot use capital efficiently to boost growth," Ashvin said. The paper also found that the global links had led to financial volatility, which required temporary capital-control measures. Many liberalised countries have struggled with short-term or tremendous capital inflows, which have resulted in bubble economies. BOT Governor Tarisa Watanagase said it was difficult to introduce efficient long-term measures to tackle volatile capital movements. But she insisted that the withholding reserve requirement was a temporary measure. "We must adopt this temporary measure because we cannot allow the free market mechanism," she said. Thammasat University economist Praipol Koomsup said capital controls should be introduced only in an emergency, while interest-rate policy should increasingly address the capital-flow problem now rather than focusing on inflation. SCB Securities chief economist Sethaput Suthiwart-Narueput said it was good that Thai authorities had recently allowed more private investment overseas. But he suggested the government issue infrastructure bonds to attract capital inflows.
In addition, to make equity market more attractive, the authorities should support more quality state enterprises to list on the stock market, while a national pension fund should be set up as soon as possible. Meanwhile, Piti Disyatat and Chayawadee Chai-anant - also BOT economists - referred to their paper entitled "Challenges to Managing Risk and Volatility in the Emerging Market Context" and said that developing countries, including Thailand, were facing much more volatility of capital flows than developed markets. OECD (Organisation of Economic Cooperation and Development) countries show almost no difference in capital flows in both good and bad economic times. However, emerging markets usually face capital inflows during good times and capital outflows during bad. In addition, the fiscal policies of developing economies tend to worsen the situation rather than improve it. Piti said the governments of developing countries usually injected spending into the economy during a good economic situation, but spent less when their countries fell into a bad one. This made a bad situation even worse, he added.
Thai investment takes a hit
The Nation (4 October 2007)
Border trade at risk if situation worsens: KResearch
Violence in Burma has affected Thai investment in that country, which ranges from tourism to fisheries and manufacturing, says the Kasikorn Research Centre (KResearch). To date, Thais have invested US$228.6 million (Bt7.82 billion) in Burma's hotel and tourism industry, $614.6 million in manufacturing, $171 million in fishing and $2.7 million in agriculture. But topping the list is a $6.03-billion hydropower project on the Salween River that was approved by the Burmese government in March 2006. All told, Thailand has poured more than $7 billion into Burma since 1988, when that country opened its doors to foreign investors. KResearch says Thailand is the largest foreign investor in Burma. Among other Asean countries, Burma has also welcomed huge investment from Singapore, Malaysia and Indonesia. KResearch said if the recent violence continued, then Burma could face harsher international economic sanctions, particularly by the United States, the European Union and Japan. "This could affect Thai investment projects in the country," the centre added. The centre said that if the violence did not deteriorate to such a level that Burma had to close its borders, then Thai-Burmese border trade would remain slow only in the short term. This year, that border trade is expected to be worth Bt109 billion, up 4.81 per cent from last year's Bt104 billion. This is attributable to imports of natural gas from Burma and exports of steel, chemical products and plastic pellets.
"However, if the situation turns more violent and the borders are shut, the border trade in the remaining three months could drop," it said. On a monthly basis, the border trade is valued at about Bt9 billion, with Thailand's exports worth Bt1.65 billion, and Burma's totalling Bt7.5 billion.
โบรกฯฟันธง R/P ลด 0.25% ดันตลาดทุนคึก
ไทยโพสต์ (4 ตุลาคม 2550)
นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)
วันที่ 10 ตุลาคม 2550 คาดว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย R/P 1 วันลงได้อีก 0.25% เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนกันยายน 2550 ไม่ได้สูงมากนัก ส่วนของธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด คาดว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.50% ในการประชุมครั้งหน้า เพื่อเป็นการบรรเทาปัญหาสินเชื่อบ้านด้อยคุณภาพ หรือซับไพรม์ในสหรัฐ
สำหรับสาเหตุที่ตลาดหุ้นไทยมีแรงซื้อเข้ามาอย่างคึกคักในช่วงนี้ เพราะนักลงทุนเข้ามาเล่นเก็งกำไร เพื่อรับข่าวดีก่อนการเลือกตั้งวันที่ 23 ธันวาคม 2550 อย่างไรก็ตามต้องจับตาดูปัญหาซับไพรม์หากไม่มีความรุนแรงมากกว่าช่วงที่ผ่านก็ไม่น่ากังวล ส่วนหลักทรัพย์ที่มีความน่าสนใจลงทุนประกอบด้วยกลุ่มพลังงาน ธนาคารพาณิชย์และอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากหุ้นในกลุ่มดังกล่าวมีปัจจัยพื้นฐานที่ดี นอกจากนี้ยังได้ผลตอบแทนในระดับที่ดีอีกด้วย
ขณะที่บรรยากาศการซื้อขายหลักทรัพย์ประจำวันที่ 3 ตุลาคมที่ผ่านมา ดัชนีปิดที่ 850.58 จุด ลดลง 2.85 จุด มูลค่าการซื้อขาย 19,334.61 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 275.67 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 62.51 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยขายสุทธิ 213.16 ล้านบาท
นายมงคล พ่วงเภตรา ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.แอ๊ดคินซัน กล่าวว่า ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม เคลื่อนไหวบวกลบสลับกัน ซึ่งมองว่าเป็นการปรับฐานดัชนีระยะสั้นๆ เพราะก่อนหน้านี้ดัชนีปรับขึ้นมา ส่วนแนวโน้วดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในวันที่ 4 ต.ค. ดัชนีมีโอกาสลดลงเป็นการปรับฐานระยะสั้น.
ไทยเสี่ยงขาดทุนทุนสำรองฯ แนะขนเงินลุยเมกะโปรเจ็กต์
ไทยโพสต์ (4 ตุลาคม 2550)
นักวิชาการ ธปท.ระบุไทยเสี่ยงขาดทุนทุนสำรองฯ หากเงินบาทแข็ง หลังถือครองสินทรัพย์ต่างประเทศมากไป แนะเจียดเงินไปลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน หรือส่งเสริมให้ลงทุนต่างชาติ
นายยรรยง ไทยเจริญ เศรษฐกรสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า ทางการมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่ต้องเข้ามาดูแลปัญหาการกระจุกตัวของสินทรัพย์ต่างประเทศ โดยเฉพาะในตะกร้าทุนสำรองระหว่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันสัดส่วน 2 ใน 3 เป็นสินทรัพย์ต่างประเทศ และมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นทุกปี โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า ส่งผลให้มีความเสี่ยงในการขาดทุนสูง หากได้รับผลกระทบจากภาวะการณ์แข็งของค่าเงินบาท ขณะที่การกำหนดใช้มาตรการกันสำรองเงินทุนระยะสั้น 30% แม้จะได้ผลดีในแง่การช่วยให้การดำเนินนโยบายการเงินมีความเป็นอิสระมากขึ้น แต่กลับมีผลต่อการช่วยลดอัตราเร่งของการแข็งค่าเงินบาทได้ไม่ชัดเจนมากนัก
"การแก้ไขปัญหาเงินทุนไหลเข้าประเทศในระดับที่มาก วิธีที่ดีที่สุดคือการใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบยืดหยุ่น และมีการข้าแทรกแซงตามความเหมาะสม ประกอบกับส่งเสริมให้นักลงทุนไทยนำเงินออกไปลงทุนต่างประเทศมากที่สุด" นายยรรยงระบุ
นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒ กรรมการผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ กล่าวว่า สาเหตุสำคัญของการแข็งค่าเงินบาท เกิดจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูง ดังนั้นรัฐบาลต้องเร่งระบายเงินเหล่านี้ผ่านการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ (เมกะโปรเจ็กต์) ขณะเดียวกันช่วงนี้ยังเป็นจังหวะที่ดีในการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อใช้ในโครงการดังกล่าว รวมไปถึงส่งเสริมให้มีนักลงทุนไปลงทุนต่างประเทศให้มากขึ้น
ด้านนางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การประกาศใช้มาตรการกันสำรองเงินทุนระยะสั้น 30% ตั้งแต่ ธ.ค.2549 เป็นต้นมายังสามารถรับมือกับกระแสเงินทุนที่ไหลเข้ามาในไทยได้ และยังย้ำว่ามาตรการนี้เป็นเพียงมาตรการชั่วคราว
ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวด้วยว่า ธปท.พร้อมที่จะแก้ไขถ้อยคำในร่าง พ.ร.บ.เงินตรา ให้มีความชัดเจนมากขึ้น หากมีข้อกังวล หรือประเด็นที่ยังไม่เข้าใจ และพร้อมที่จะอธิบายให้กับสมาชิก สนช.และประชาชนรับทราบ แต่ยืนยันว่า ธปท.มีความจำเป็นที่จะต้องแก้ไข พ.ร.บ.เงินตรา.

ไอซีทีฟุ้ง 5 ปีผลงานเยี่ยมปั้น 7 แผน 3 ปี
สยามรัฐ (4 ตุลาคม 2550)
ไอซีทีฟุ้ง 5 ปีผลงานเยี่ยมปั้น 7 แผน 3 ปี กระทรวงไอซีทีครบรอบ 5 ปี ปลัดฯแจงผลงานชัดเจน เดินหน้าอีก 7 แผนภายใน 3 ปี พัฒนาไอซีครบด้าน เพื่อประโยชน์ประชาชน นายสือ ล้ออุทัย รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงฯ เปิดเผยในโอกาสไอซีที ครบรอบ 5 ปีว่า ไอซีที ได้ผลักดันให้มีการดำเนินการโครงการต่างๆ เพื่อประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม โดยแบ่งงานออกเป็น 4 ด้าน คือ 1) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้าน ไอซีที 2) พัฒนาบุคลากรด้าน ไอซีที โดยการจัดนิทรรศการแสดง ไอซีที ระดับภูมิภาค หรือ Bangkok International ไอซีที Expo โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ไอซีที ชุมชน ซึ่งขณะนี้กระทรวงได้เปิดศูนย์ไปแล้ว 20 แห่ง และมีเป้าหมายเพิ่มศูนย์อีก 40 แห่งทั่วประเทศในปี 2551 3) พัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การจัดทำบัตรประชาชนอเนกประสงค์ และ 4) ควบคุมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ไม่เหมาะสม หรือผิดศีลธรรมตลอดทั้งความมั่นคงของประเทศ สำหรับ7 แผนงานหลักใน 3 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2551-2553) ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร” ซึ่งเน้นการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างสูงสุดในการใช้บริการ ซึ่งมีแผนงานดังกล่าวประกอบด้วย 1) พัฒนาขีดความสามารถด้าน ไอซีที 2) พัฒนาอุตสาหกรรม ไอซีที 3) พัฒนาบุคลากรด้าน ไอซีที 4) การพัฒนาระบบ e-Government 5) พัฒนาระบบ e-Logistic มีเป้าหมาย พัฒนาและส่งเสริมการทำ ไอซีที มาใช้ในการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ 6) พัฒนากิจการโทรคมนาคม และ7) พัฒนา ไอซีที เพื่อความมั่นคง โดยจะนำ ไอซีที มาใช้ในการเตือนภัยธรรมชาติและรักษาความมั่นคงของชาติ
ผู้ว่าฯ ธปท.ชี้ต้นตอวิกฤติ ศก.ไทย ทุนต่างชาติไหลเข้าออกเร็ว-อัตราแลกเปลี่ยนผันผวน
ผู้จัดการ (4 ตุลาคม 2550)
ผู้ว่าการ ธปท.ชี้ 2 ปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจ เงินทุนเคลื่อนย้ายไหลเข้า-ออกรวดเร็ว และความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ธปท. ต้องมีมาตรการรับมือในปีหน้า ส่วนปัญหาอื่นเชื่อว่าส่งผลกระทบไม่รุนแรง ด้านปัจจัยการเมืองมองว่า มีความเสี่ยงน้อยมาก หลังการเลือกตั้งชัดเจน ปลายปีนี้ ขณะที่แบงก์กรุงเทพ ประกาศหนุน พ.ร.บ.การเงิน กู้วิกฤติได้
วันนี้(3 ต.ค.) นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวเปิดการสัมมนาวิชาการประจำปี 2550 ของ ธปท. เรื่อง “การบริหารความเสี่ยงทางการเงินในทศวรรษหน้า” ระบุว่า ความเสี่ยงเรื่องการเมืองของประเทศไทยลดลงไปแล้ว เพราะจะมีการเลือกตั้งปลายปีนี้ โดยเชื่อว่าในปีหน้ามี 2 เรื่องที่เป็นความเสี่ยงจะต้องเตรียมรับมือคือ เงินทุนเคลื่อนย้ายที่ไหลเข้า-ออกอย่างรวดเร็ว และความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเกิดขึ้นต่อเนื่องในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีหน้า ยังขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ว่า จะสามารถเรียกความเชื่อมั่นและกอบกู้ภาวะเศรษฐกิจได้มากน้อยแค่ไหน ส่วนปัญหาราคาน้ำมัน เงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า ปัญหาสินเชื่อที่อยู่อาศัยด้อยคุณภาพ (ซับไพร์ม) เชื่อว่าผลกระทบไม่รุนแรง หากแก้ไขได้เหมาะสม
นางธาริษา กล่าวอีกว่า ธปท.ได้พยายามดูแลระบบการเงินและเศรษฐกิจให้มีความยืดหยุ่น ทนแดดทนฝน เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและการเปิดเสรีเงินทุนในอนาคต หากประเทศไทยไม่พร้อม จะทำให้เกิดวิกฤติการเงินในระยะต่อไปได้ ส่วนมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ที่หลายฝ่ายอยากให้ยกเลิก ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ธปท.ยืนยันว่า เป็นมาตรการชั่วคราว โดย ธปท.จะต้องหามาตรการเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของเงินทุนในระยะข้างหน้าว่า ควรจะมีอะไรบ้าง ซึ่งยอมรับว่า ค่อนข้างยาก แต่กำลังพิจารณาอยู่ โดยระยะสั้นหากมีปริมาณเงินทุนเข้ามามากจนกระทั่งบิดเบือนจะต้องมีมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ไว้ดูแล "ทีดีอาร์ไอ" ยังแบ่งรับแบ่งสู้ ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาเศรษฐกิจส่วนรวม และการกระจายรายได้ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีอีอาร์ไอ) กล่าวถึงการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เงินตรา ร่าง พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร่าง พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน และร่าง พ.ร.บ.สถาบันประกันเงินฝาก ว่า ร่าง พ.ร.บ.ทั้ง 4 ฉบับ มีหลักการที่ดี มีเครื่องมือบริหารการคลังที่มีความหลากหลาย สามารถดำเนินการได้มากกว่าในอดีต ซึ่งเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องแก้ไข เพราะขณะนี้กฎหมายดังกล่าวมีความล้าหลังไม่ทันกับโลกปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะเรื่องการบริหารเงินทุนสำรอง ซึ่งยังมีข้อจำกัดเรื่องการบริหารเงินทุนสำรอง ทำให้เกิดต้นทุนต่อเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ส่วนข้อวิตกกังวลที่ว่า หากมีการแก้ไขร่าง พ.ร.บ. ธปท. จะเป็นการเปิดทางให้ ธปท. มีอำนาจมากเกินไปนั้น นายสมชัย กล่าวว่า ในการพิจารณาของคณะกรรมาธิการ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สามารถแปรญัตติ หรือแก้ไขเพิ่มเติมได้ ดังนั้น ควรเขียนกฎหมายกำหนดอำนาจของ ธปท.ให้มีความชัดเจน ซึ่งเชื่อว่าไม่น่าที่จะมีปัญหา อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า ธปท. ต้องมีการเปิดเผยข้อมูลมากขึ้น และต้องสร้างความโปร่งใส “หากร่างแก้ไข พ.ร.บ.ทั้ง 4 ฉบับ ไม่ผ่านความเห็นชอบของ สนช. ก็ไม่มีผลที่รุนแรง แต่ประเทศไทยจะเสียโอกาสที่จะมีเครื่องไม้เครื่องมือทางการเงินมาบริหารภาคการเงินและการคลัง” ดร.สมชัยกล่าว "แบงก์กรุงเทพ" หนุน ธปท.สุดตัว นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า ร่าง พ.ร.บ. ฉบับใหม่มีประโยชน์ และมีการปรับปรุงเข้ากับสถานการณ์ทางการเงินของไทย ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการทำธุรกิจการเงินของไทยมากขึ้น ส่วนการเปิดให้ต่างชาติถือหุ้นในสถาบันการเงินมากขึ้นนั้น เห็นว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับใหม่ดีอยู่แล้ว มีขอบข่ายการทำธุรกรรมมากขึ้น และมีระบบดูแลสถาบันการเงินที่เหมาะสม ส่วนการปรับ ครม. เห็นว่าไม่เป็นไร มีความเหมาะสม โวยกำหนดบทลงโทษสถาบันการเงินรุนแรง ด้านนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงินที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม จะทำให้สถาบันการเงินมีความคล่องตัวมากขึ้น แต่เมื่อดูร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวแล้ว ก็พบว่ามีหลายจุดที่ยังมีปัญหา โดยเฉพาะเรื่องการกำหนดบทลงโทษสถาบันการเงิน ที่กฎหมายเดิมกำหนดโทษว่า โทษจำหรือปรับ มีการแก้ไขเป็นทั้งจับและปรับ ซึ่งเห็นว่าเป็นโทษที่รุนแรงเกินไปกับสถาบันการเงินเอกชน แต่กับสถาบันการเงินของรัฐวิสาหกิจ ไม่มีปัญหา เนื่องจาก พ.ร.บ.รัฐวิสาหกิจที่ควบคุมธนาคารของรัฐมีบทลงโทษที่รุนแรงมากกว่า